สถาปัตยกรรม
อาสนวิหารอัสสัมชัญ
ในปี ค.ศ.1809 (พ.ศ.2352) คุณพ่อปาสกัลซึ่งเป็นลูกหลานของชาวไทย-โปรตุเกส (บวชปี ค.ศ.1805) ได้รวบรวมเงิน1,500 บาทซึ่งได้บอกบุญกับบรรดาคริสตังและญาติพี่น้องมิตรสหายของท่านคุณพ่อได้ถวายเงินจำนวนนี้แก่คุณพ่อฟลอรังส์เพื่อจะได้สร้างวัดสักแห่งหนึ่งเป็นเกียรติแด่อัสสัมชัญของพระนางมหามารีอาโบสถ์อัสสัมชัญ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในราวปี ค.ศ.1820 (พ.ศ.2363 แบบไทย) แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารอัสสัมชัญในปีถัดมา
ในปี ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ได้รับการสร้างโบสถ์หลังใหม่( หลังปัจจุบัน) เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสตชน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง วัสดุส่วนใหญ่ เช่น หินอ่อน และกระจกสี สั่งเข้ามาจากฝรั่งเศส และอิตาลี มีรากฐานเป็นท่อนซุงจำนวนมาก มัดเรียงกันเป็นแพ แทนการใช้เสาเข็ม ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวโบสถ์ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด จึงได้มีการซ่อมแซม และมีการใช้เหล็กโยงกลางอาคารเพื่อเสริมแรงดึงผนัง ทั้ง 2 ด้านเข้าหากัน
ตัวอาคาร ถูกวางตามแนวแกน ทิศตะวันออก และตะวันตก ภายในแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วน ประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีพระแท่นหินอ่อนขนาดใหญ่ เป็นที่พระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา(1) ส่วนที่ นั่งของผู้มาร่วมพิธี(2) ซึ่งทั้ง 2 ด้านเป็นช่องคูหาขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานรูปพระและนักบุญต่างๆ(3) ส่วนโถงทางเข้า(4) โดยมีระเบียงโอบล้อมรอบ ซึ่งเหนือโถงทางเข้าเคยใช้เป็นที่สำหรับนักขับร้อง และออร์แกนขนาดใหญ่ ทั้งผนัง และเพดานประดับประดาด้วย จิตกรรมแบบเฟรสโก และประติมากรรม ปูปั้นนูนสูงต่ำ แสดงเรื่องราวและความชื่อทางศาสนา
รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมสมัย RENAISSANCE ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในยุคต้นศตวรรษ ที่ 15 ในประเทศอิตาลี และได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรปโดยนำเอารูปลักษณ์ และองค์ประกอบในยุค CLASSIC(โรมัน) กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แต่ใช่กรรมวิธีและเทคนิคการก่อสร้างจากยุค GOTHIC ก่อนหน้านั้น
ลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ การคำนึงถึงสมดุล (SYMMETRY) เป็นหลักใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผนังอาคาร หอคอย ซึ่งขนาบทั้ง 2 ด้าน ของทางเข้าซุ้มประตู และหน้าต่างยอดครึ่งวงกลม(SEMICIRCULAR ARCHES) ซึ่งรายรอบอาสนวิหารแห่งนี้ ก็ยังแสดงออกถึงความสมดุลดังกล่าว นอกจากนั้น บริเวณมุมอาคารยังมีการเน้นให้เห็นความมั่งคง โดยการแต่มุมอาคารเลียนแบบหินทรายก้อนโตเรียงสลับแบบ QUOINS ซึ่งเป็นการสลับด้านยาว(STRETCHERS) และยอด(HESDERS) มีจุดเด่นอยู่ที่หน้าจั่ว(PEDIMENT) แบบ LOW PITCH คือ มีความลาดชันน้อย อันเป็นอิทธิพลมาจากสมัย CLASSIC ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับการใช้เสาโรมันแบบ COMPOSITE รับโค้งประทุน(ARCH) ภายในอาสนวิหารแล้ว ยิ่งแสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมในยุค RENAISSANCE อย่างชัดเจน
ในยุคเดียวกัน ศิลปกรรมแขนงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตกรรม ประติมากรรม งานโลหะ และงานสีต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง และถูกนำมาประยุกต์ใช้ตกแต่ง ประดับประดางานสถาปัตยกรรมให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเช่นกันภายในอาสนวิหารแห่งนี้
**********
The structure of the Assumption Cathedral itself was laid down from East to West in a completely well mixed architectural style. The architectural style of the outside is of a Romanesque style with its unique feature of symmetry of the structure. The walls, the conspicuous towers, 32 meters high, show the symmetry of the building with the height of the roof reaching 25.6 meters and all semicircular-arches at the entrances and the windows also witness to the symmetry of the building. Besides that, at the corner of the building, there are evidences of the reinforcement of the building by the laying of limestone bricks alternatively with its façade slightly sloping which derived from the Classic art. The Romanized pillars were used to hold the semicircular-arches. These Romanized pillars were decorated with all kinds of shrubs on their tops. These pillars were not used to support the building construction at all, but they were used just for beautification. Parts of the interior of the Cathedral also revealed the Romanesque style, i.e. the main semicircular-arches or the semicircular-verandas, the semicircular-windows and the semicircular-doorway, all were of the Romanesque style. The semicircular-doorway was made of different layers of leaves and the central gate was greatly emphasized. The layout of the building was in a pattern of a cross even though the two hands of the cross are not so wide and their lengths are shorter than the length of the building itself. Both sides were used as a sanctuary. The exterior of the building looks very simple but the interior of the building is very luxurious and dignified. A mixture of decoration of the neoclassic and French Colonial especially the fresco paintings and bas-relief patterns which are all religious-related can be found. All the statutes along the side altars were of different saints and of the life story of Jesus prior to his dying on the cross while all the paintings revealed the story of the Catholic faith in Mary with the scene from the first part of the prayer Hail Mary. Also, the painting on the ceiling revealed the inscription of the initials of the name of Jesus in Latin and the ceilings were decorated with stars which means guidance or God’s favour.