พี่น้องครับอาทิตย์นี้เราประชาชนและคริสตชนชาวไทยทุกคนคงเศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชคอลัมน์“คิดสักนิด…สะกิดใจ”ในอาทิตย์นี้พ่อจึงขออนุญาตน้อมนำ9 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์และสิริมงคลสำหรับการดำเนินชีวิตและการแก้ไขปัญหาการทำงานในยุคปัจจุบันให้แก่พี่น้องกันนะครับ
1. คนดี
“ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมดการทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธจังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม2512)
2. อนาคตทำนายได้
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อนต้นเรื่องนั้นคือเหตุสิ่งที่ได้รับคือผลและผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีกคือทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้แล้วการทำงานของท่านก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆต่อเนื่องกันไปอีกไม่หยุดยั้งดังนั้นที่พูดกันว่าให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเองคนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกันเพราอนาคตก็คือผลของการกระทำในปัจจุบัน” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย8 กรกฎาคม2519)
3. ความดี
“การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้าแต่ก็จำเป็นต้องทำเพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัวแต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลังในการสร้างเสริมและสะสมความดี” (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสวนอัมพร14 สิงหาคม2525)
4.การทำงาน
“เมื่อมีโอกาสและมีงานทำควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้หรือเงื่อนไขอันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวางคนที่ทำงานได้จริงๆนั้นไม่ว่าจะจับงานสิ่งใดย่อมทำได้เสมอถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่มีความขยันและความซื่อสัตย์สุจริตก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา8 กรกฎาคม2530)
5. คุณธรรมของคน
“ประการแรกคือความซื่อสัตย์ประการที่สองคือการรู้จักข่มใจฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้นประการที่สามคือการอดทนอดกลั้นและอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตประการที่สี่คือการรู้จักละวางความชั่วความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมคุณธรรมสี่ประการนี้ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามจะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป” (พระบรมราโชวาทในพิธีบรวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า5 เมษายน2535)
6. ความเพียร
“ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้นคือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไปและระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่อย่างหนึ่งกับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงามให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไปอย่างหนึ่งความเพียรทั้งสองประการนี้เป็นอุปการะอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติตนปฏิบัติงานถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าวประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม” (พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ50 ปีพ.ศ.2539)
7. แก้ปัญหาด้วยปัญญา
“ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จักคิดให้ดีปฏิบัติให้ถูกการคิดได้ดีนั้นมิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกลเพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตามก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์การขบคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติปัญญาคือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอเพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาดและอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้นช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆเป็นไปอย่างเที่ยงตรงทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์1 สิงหาคม2539)
8. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
“คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้คนเราจะต้องรับและจะต้องให้หมายความว่าต่อไปและเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมาก็จะต้องพยายามให้ในการให้นั้นให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วยด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้” (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นวันที่20 เมษายน2521)
9. พูดจริงทำจริง
“ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไรทำอย่างนั้นจึงได้รับความสำเร็จพร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่ายการพูดแล้วทำคือพูดจริงทำจริงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัดและสร้างเสริมความดีความเจริญให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่10 กรกฎาคม2540)
ที่มาจากเว็บไซต์OK Nation
คุณพ่อปลัด