ข้อคิดอาทิตย์ที่22 เทศกาลธรรมดาปีB
มก7: 1-8. 14-15. 21-23…ท่านทั้งหลายละเลยบทบัญญัติของพระเจ้ากลับไปถือขนบธรรมเนียมของมนุษย์…สิ่งที่ออกมาจากภายในของมนุษย์นั้นแหละทำให้เขามีมลทิน… จากภายในคือจากใจมนุษย์นั้นเป็นที่มาของความคิดชั่วร้าย…
เหตุผลประการแรกที่ทำไมเราจึงมาร่วมชุมนุมกันอยู่ณที่นี้ก็เพื่อกราบไหว้นมัสการพระเจ้า…และพระเยซูจ้าได้ทรงพูดถึงชาวฟาริสีว่า“คนพวกนี้ให้เกียรติเราด้วยปากแต่ว่าหัวใจของพวกเขาอยู่ห่างไกลจากเรา”…ดังนั้นการกราบไหว้นมัสการของพวกเขาจึงเป็นอะไรที่ว่างเปล่าไม่มีคุณค่า…ดังนั้นเราควรจะต้องกราบไหว้นมัสการพระเจ้าอย่างสมพระเกียรติด้วยจิตวิญญาณและในความจริงอันจะเป็นการช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราด้วย…
ข้อคิด…ด้วยการยกตัวอย่างประเพณีบางอย่างของชนชาวยิวเช่นการล้างมือก่อนมื้ออาหารการล้างถ้วยชามและภาชนะอื่นๆพระเยซูเจ้าได้ถือโอกาสนี้สอนความจริงอีกประการหนึ่งที่สูงส่งกว่าคือเรื่องของความใสสะอาดภายในของจิตวิญญาณซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและในสังคมมนุษย์แน่นอนความสะอาดทางด้านภายนอกก็มีความสำคัญเช่นกันแต่ว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าคือความใสสะอาดความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสวดมนต์ภาวนาและการกราบไหว้นมัสการพระเจ้าและการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ
โดยทั่วๆไปตามที่เรารับรู้ในสังคมมนุษย์…ในการให้การศึกษาอบรมเรามักจะให้ความสำคัญแก่“หัวสมอง”มากกว่า“หัวใจ” เพราะเราอยากให้ตัวเราและลูกๆหลานๆของเราเป็นเด็ก“ฉลาด”มากกว่าเป็นเด็ก“ดี”และโลกของธุรกิจและการเมืองก็ให้รางวัล“ความฉลาด”มากกว่า“ความดี”แต่ถึงกระนั้นเวลาที่เราคุยกันเราก็รับรู้ว่าเรื่องของ“หัวใจ”ต้องมาก่อนอย่างอื่น
เรามักจะตัดสินผู้อื่นโดยใช้“หัวใจ” และสิ่งที่เรามักจะต่อว่าคนอื่นก็คือกล่าวตำหนิเขาว่า“เป็นคนไม่มีหัวใจ” หรือ“เป็นคนใจเย็นชา”หรือ“เป็นคนใจแข็ง” แต่ว่าในทางกลับกันสิ่งดีๆที่เรามักจะเอ๋ยถึงคนอื่นก็คือ“เขาเป็นคนมีหัวใจ” หรือ“เขาเป็นคนมีหัวใจที่อบอุ่นและเป็นกันเอง” หรือ“เขาเป็นคนมีใจอ่อนโยน” ฯลฯ
เราตัดสินลำดับขั้นของการอุทิศตนให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งของคนใดคนหนึ่งก็ในเรื่องของ“หัวใจ” เช่นเรามักจะพูดว่า“ใจของเขาไม่ได้อยู่ที่งาน” หรือ“เขาให้ใจเพียงครึ่งเดียว” ซึ่งในกรณีนี้พอเขาทำงานไปเขาอาจจะเลิกล้มได้เสียกลางคันหรือแม้เขาอาจจะทำงานนั้นต่อแต่เขาก็มิได้ทุ่มเทให้กับงานนั้นๆอย่างเต็มที่และอย่างดีที่สุดซึ่งตรงข้ามกับคนที่“ทุ่มเทจนหมดหัวใจให้กับงานนั้นๆ” ดังนั้นเขามิใช่เพียงแต่ทำงานนั้นๆให้เสร็จเท่านั้นแต่ยังทุ่มเทให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองมีให้กับงานนั้นๆอีกด้วย
ที่จริงเราสามารถยกตัวอย่างได้มากมายเกี่ยวกับเรื่องของหัวใจอย่างไรก็ตามให้เราสรุปเรื่องของหัวใจด้วยตัวอย่างสองตัวอย่างจากพระวรสาร
ตัวอย่างแรกซึ่งพูดถึงเรื่องของการกราบไหว้นมัสการสิ่งที่น่าตำหนิมากที่สุดเมื่อพูดถึงการกราบไหว้นมัสการของศาสนิกชนไม่ว่าจะเป็นของศาสนาใดก็ตามก็คือการที่“หัวใจ” หรือ“ใจ” ของผู้กราบไหว้นมัสการมิได้อยู่ในพฤติกรรมนั้นๆในกรณีอย่างนี้ก็จะเป็นพิธีกรรมด้วยปากหรือลิ้นเท่านั้นซึ่งเหมือนกับพฤติกรรมของชาวฟาริสีซึ่งสรรเสริญพระเจ้าแต่ปากตรงข้ามพิธีกรรมที่ดีที่สุดก็คือเป็นพิธีกรรมที่ออกมาจากหัวใจนั่นเอง
ตัวอย่างที่สองซึ่งเกี่ยวข้องกับความดีและความไม่ดี…หัวใจที่ชั่วร้ายและไม่ใสสะอาดเป็นรูปแบบที่เลวร้ายแบบสุดๆ…ส่วนหัวใจที่ซื่อใสสะอาดบริสุทธิ์ก็เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดของความดี
พระเยซูเจ้าได้ให้ค่านิยมอย่างมากๆเกี่ยวกับเรื่องของ“หัวใจ” และเราสามารถเห็นได้ว่า“ทำไม?”…เพราะ“หัวใจ” เป็นแหล่งที่มาของความคิดคำพูดและพฤติกรรมต่างๆถ้าหาก“หัวใจ” สะอาดอะไรต่างๆที่ออกมาจาก“หัวใจ” ก็จะใสสะอาดไปด้วยเหมือนกับน้ำที่ไหลมาจากต้นธารที่ใสสะอาด…แต่ว่าชาวฟาริสีได้ให้ความสนใจในเรื่องของภายนอกมากกว่าเรื่องของภายในเช่นพวกเขารู้สึกวุ่นวายกับการล้างมือมากกว่าการชำระหัวใจให้สะอาดเราต้องอย่างลืมว่า“ภายนอก” สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่“ภายใน”
เราจึงต้องแสวงหาความใสสะอาดของ“หัวใจ” เพราะ“หัวใจ” ที่เปี่ยมด้วยความรักก็จะเป็น“หัวใจ” ที่บริสุทธิ์และเป็นหัวใจที่มี“สุขภาพดี”
สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์