วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้า
พิธีกรรมสำคัญของวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์คือพิธีระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้าที่มีการอ่านบทพระมหาทรมานอีกครั้งมีบทภาวนาเพื่อมวลชนแบบดั้งเดิมและการนมัสการไม้กางเขนต่อด้วยการรับศีลมหาสนิท
เดิมนั้นระบุว่าหากเห็นเหมาะสมและสามารถทำได้ให้ประกอบพิธีนี้เวลาบ่ายสามโมงแต่ปัจจุบันเพื่อการอภิบาลซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญคือให้สัตบุรุษสามารถมาร่วมพิธีได้อย่างพร้อมเพรียงจึงเลื่อนเป็นเวลาอื่นได้
เวลา“บ่ายสามโมง”นั้นมีที่มาและมีความหมายความหมายแรกที่พวกเราคุ้นเคยดีคือเป็นเวลาที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและทำไมต้องเป็น“บ่ายสามโมง”มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพระคัมภีร์เสมอโดยปกติชาวยิวเมื่อเขามาถวายเครื่องบูชายามเย็นที่พระวิหารคือมาถวายแกะเขาจะนำแกะไปเตรียมณสถานที่ที่อยู่ไม่ไกลนักจากพระวิหารแกะที่จะนำไปถวายจะถูกฆ่าเวลา“บ่ายสามโมง”คือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับเตรียมแกะเป็นเครื่องบูชายามเย็นและพระเยซูเจ้าคือ“ลูกแกะที่ถูกฆ่า”เพื่อไถ่บาปนำความรอดพ้นมาสู่มวลมนุษย์
เสาร์ศักดิ์สิทธิ์คืนตื่นเฝ้า
ในวันนี้พระศาสนจักรจะรำพึงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในคูหาและเสด็จลงไปยังแดนผู้ตายส่วนเราคริสตชนก็จะตื่นเฝ้าปัสกา(Easter Vigil)ด้วยพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในรอบปีพิธีกรรมของคริสตชน
พิธีกรรมในค่ำคืนนี้จะร่ำรวยด้วยสัญลักษณ์ต่างๆที่มีความหมายพิเศษแบ่งเป็น4 ภาคด้วยกันคือ1) ภาคแสงสว่างที่จะมีการเสกไฟแห่เทียน และประกาศสมโภชปัสกาต่อด้วย2) ภาคพระวาจาที่เราจะฟังพระวาจาหลายบทหลายตอนที่ย้อนรอยสู่ประวัติศาสตร์แห่งความรอด
หลังจากนั้นจะเป็น3) ภาคศีลล้างบาปจะมีพิธีเสกน้ำพิธีโปรดศีลล้างบาปซึ่งเราทุกคนก็จะถือเทียนที่จุดอยู่ เพื่อรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลล้างบาปด้วยกันต่อด้วย4) ภาคศีลมหาสนิทที่พิธีจบด้วยการอวยพรอย่างสง่าและการตอบรับต่อท้ายว่าอัลเลลูยาอัลเลลูยา
พิธีกรรมในวันนี้จะนานกว่าพิธีกรรมในวันอื่นๆ เป็นวันพิเศษสุดในรอบปีพิธีกรรม จึงเรียกร้องให้สัตบุรุษร่วมฉลองพิธีกรรมในวันนี้อย่างพร้อมเพรียงและตั้งใจ สมกับที่เรารอคอยการฉลองอันสำคัญยิ่งนี้วันปัสกา
วันอาทิตย์สมโภชปัสกา
พิธีกรรมวันนี้แสดงถึงความชื่นชมยินดีแห่งการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าเทียนปัสกาหมายถึงพระเยซูเจ้าผู้กลับคืนชีพซึ่งจะตั้งอยู่ใกล้พระแท่นและจะเก็บหลังจบเทศกาลปัสกา(วันสมโภชพระจิตเจ้า)เทียนปัสกานี้จะถูกไว้อย่างมีเกียรติ
เทียนปัสกาจะนำมาใช้ในเวลาจุดเทียนของผู้รับศีลล้างบาปเพื่อแสดงถึง“ชีวิตใหม่”และในพิธีศพเพื่อแสดงว่าความตายของคริสตชนเป็น“ปัสกา”(การผ่านไปรับชีวิตนิรันดร) ของเขา…
…พ่อปลัด…