วันผู้ลี้ภัยโลก(20 มิถุนายน)
ผู้ลี้ภัย(refugee) หมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำเพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่าการกดขี่ด้วยเหตุทางเชื้อชาติศาสนาสัญชาติความเห็นทางการเมืองหรือการเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่าบางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่าผู้ขอที่ลี้ภัย(asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย
ค่ายผู้ลี้ภัยเป็นสถานที่ที่สร้างโดยรัฐบาลหรือองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ(NGO: Non Governmental Organization) เพื่อรับผู้ลี้ภัยผู้คนสามารถเข้ามาพักอาศัยในค่ายรับอาหารและความช่วยเหลือทางการแพทย์จนกว่าจะปลอดภัยที่จะกลับบ้านได้หรือจนกว่าจะมีผู้มารับตัวไปในหลายกรณีแม้ว่าเวลาผ่านไปหลายปีก็ยังไม่ปลอดภัยที่จะกลับบ้านจนทำให้ต้องไปตั้งถิ่นฐานใหม่ใน”ประเทศที่สาม” ห่างไกลจากชายแดนที่ข้ามมาอย่างไรก็ดีโดยส่วนใหญ่ผู้ลี้ภัยมักไม่ได้รับโอกาสในการตั้งถิ่นฐานใหม่และมีความเสี่ยงต่อโรคภัยและความรุนแรงมีประมาณการว่าทั่วโลกมีค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ราว700 แห่งในประเทศไทยเคยมีค่ายผู้ลี้ภัยระหว่างปีพ.ศ. 2522 – 2535หลังจากนั้นได้ทำการปิดค่ายและบังคับให้คนที่เหลืออพยพกลับในช่วงนั้นผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นชาวกัมพูชาที่รอดตายจากการรุกรานของเวียดนามมีจำนวนประมาณ300,000 คน
การตั้งรกรากใหม่เป็นการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ไม่อาจกลับบ้านได้ให้ไปสู่ประเทศที่สามในความเห็นขององค์กรสหประชาชาติถือเป็นทางเลือกที่แย่ที่สุดในบรรดาทางออกที่พอเป็นไปได้ของปัญหาผู้ลี้ภัยแต่เราอาจต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกเดียวที่พอเป็นไปได้ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องและไม่อาจละเลยได้ก็คือไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้สถานะผู้ลี้ภัยแม้ได้สถานะผู้ลี้ภัยและสามารถไปอยู่ประเทศที่สามได้พวกเขาก็ต้องปรับตัวในที่ใหม่แม้ประเทศไทยไม่ใช่ต้นทางหรือเป็นสาเหตุให้มีผู้ลี้ภัยก็ตามผู้อพยพลี้ภัยด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมาจำนวนมากที่ไม่ได้สถานะผู้ลี้ภัยก็กลับกลายเป็นผู้ที่อยู่อย่างผิดกฎหมายนั่นหมายถึงพวกเขาอาจถูกจับและอยู่ในเขตกักกัน(IDC) เด็กและผู้หญิงอาจถูกพรากจากครอบครัวต้องคอยหลบหนีและอยู่ในความหวาดผวาพวกเขาส่วนหนึ่งถูกเหมารวมว่าเป็นแรงงานข้ามชาติที่หลบหนีเข้ามาแย่งงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายดังนั้นมักถูกปฏิบัติการกวาดล้างและถูกเอารัดเอาเปรียบผู้อพยพที่ไม่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยที่ถูกผลักดันให้กลับประเทศต้นทางตามนโยบายของรัฐซึ่งในหลายๆกรณีเท่ากับกับผลักเขาไปสู่ความตายซึ่งถือเป็นการผิดต่อมนุษยธรรมอย่างรุนแรงและเป็นสิ่งที่รับไม่ได้และการเล็ดลอดจากการกวาดล้างก็ไม่ได้ทำให้เขาสามารถมีชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้เพราะพวกเขาไม่สามารถทำงานเพื่อมีรายได้จุนเจือครอบครัวลูกหลานของผู้ลี้ภัยมีความจำกัดทางด้านการศึกษาและส่วนใหญ่อยู่อย่างขัดสนหลบๆซ่อนด้วยความหวาดกลัวขาดอิสรภาพ
วันผู้ลี้ภัยโลกเตือนเราให้ตระหนักว่าบรรดาผู้ลี้ภัยไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นเหยื่อของสถานการณ์การกดขี่ความรุนแรงสงครามและการเข่นฆ่าพวกเขาคือพี่น้องที่อยู่ในวิกฤติที่ต้องการความช่วยเหลือในทุกๆด้าน
แม้ว่าทางสังฆมณฑลกรุงเทพโดยหน่วยงานสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย(Caritas Bangkok) ซึ่งอยู่ในฝ่ายงานด้านสังคมเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ความช่วยเหลือเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยตรงซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เป็นการช่วยให้ผู้อพยพอยู่ในเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายเป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในความยากลำบากตามสิทธิที่พวกเขาพึงได้รับในฐานะมนุษย์คริสตชนทุกคนต้องไม่ลืมว่าพวกเขาคือพี่น้องเพื่อนมนุษย์ที่ต้องการความช่วยเหลือพระเยซูเจ้าเชื้อเชิญเราให้แสดงความรักต่อพวกเขาฉันพี่น้อง
ความช่วยเหลือที่พี่น้องสามารถหยิบยื่นให้แก่พี่น้องผู้ลี้ภัยมีอยู่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการภาวนาเพื่อพวกเขาที่อยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายนอกจากนั้นพวกเขาต้องการปัจจัยสี่เพื่อการดำเนินชีวิตความช่วยเหลือด้านสุขภาพในยามเจ็บป่วยโอกาสสำหรับชีวิตที่ดีกว่าเช่นการศึกษาของบรรดาเด็กๆผู้ลี้ภัย เป็นต้นหากไม่สะดวกในการเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในงานอาสาสมัครเพื่อผู้ลี้ภัยก็สามารถติดต่อพระสงฆ์เจ้าอาวาสหรือทางแผนกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัยเพื่อมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานเพื่อผู้ลี้ภัยได้อันที่จริงบางวัดและเขตของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพยังได้มีความช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยอยู่บ้างแล้วเช่นให้อาหารเครื่องนุ่งห่มยารักษาโรคและเอื้อเฟื้อด้านอื่นๆที่จำเป็นเป็นต้นเป็นเครื่องหมายของการต้อนรับพี่น้องในยามที่พวกเขาต้องการ
พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสว่า“…อย่าลืมที่จะเตือนตัวเองว่าพระคริสตเจ้าทรงร้องขอท่านให้ต้อนรับบรรดาพี่น้องผู้อพยพย้ายถิ่นและบรรดาผู้ลี้ภัยทั้งหลายด้วยวงแขนที่เปิดกว้างและด้วยแขนทั้งสองที่เปิดกว้างนี้ทำให้เราพร้อมที่จะโอบกอดด้วยความจริงใจเป็นอ้อมกอดแห่งความรัก…”
คุณพ่อสมหมายมธุรสสุวรรณ
ผู้จัดการแผนกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย
ฝ่ายสังคมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ(Caritas Bangkok)