ข้อคิดอาทิตย์ที่3เทศกาลปัสกา ปี B
ลก24: 35-48…ท่านวุ่นวายใจทำไมเพราะเหตุใดท่านจึงมีความสงสัยในใจจงดูมือและเท้าของเราซิเป็นเราเองจริง…พระคริสตเจ้าจะต้องรับทนทรมานและจะกลับคืนชนมชีพจากบรรดาผู้ตายในวันที่สาม…
ในพระวรสารเราจะพบว่าบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้ากำลังสนทนากันอยู่ถึงเรื่องของพระองค์พวกเขาที่ได้รับบาดแผลหัวใจแต่พระเยซูเจ้าได้ทรงปรากฎองค์ให้พวกเขาได้แลเห็นและได้ทรงประทานสันติสุขของพระองค์ให้กับพวกเขาพลางได้มอบพันธกิจให้กับพวกเขาเพื่อเป็นการสานต่อพันธกิจของพระองค์
ข้อคิด…ในบทอ่านที่หนึ่งจากหนังสือกิจการอัครสาวก(กจ3: 13-15. 17-19) นักบุญเปโตรได้แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่งใหญ่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับประชาชนที่ได้มีส่วนร่วมต่อการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าอย่างไรก็ตามท่านก็ได้แก้ตัวให้กับพวกเขาพลางบอกว่าที่พวกเขาได้ทำลงไปนั้นก็เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยประการฉะนี้ท่านจึงได้ให้แรงบันดาลใจแก่พวกเขาด้วยคำอธิษฐานขององค์พระเยซูเจ้าขณะที่กำลังจะสิ้นพระชนม์ว่า“ข้าแต่พระบิดาเจ้าโปรดยกโทษให้พวกเขาพวกเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรลงไป” ท่านได้เร่งรัดให้ประชาชนทำการกลับใจใช้โทษบาปพลางให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาว่าถ้าหากพวกเขาทำเช่นนั้นบาปของพวกเขาก็จะได้รับการอภัย
ส่วนในพระวรสารความสนใจอันดับแรกของนักบุญลูกาก็คือต้องการแสดงให้เห็นว่าพระเยซูพระผู้ได้ทรงเสด็จกลับคืนพระชนมชีพทรงเป็นบุคคลเดียวกันกับที่พวกอัครสาวกได้รู้จักก่อนที่พระองค์จะโดนจับเอาไปตรึงที่ไม้กางเขน…ท่านได้เน้นย้ำความเป็นจริงของการกลับคืนพระชนมชีพทางกายภาพขององค์พระเยซูเจ้าแต่ท่านก็ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่าการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้ามิใช่เป็นการกลับไปสู่ชีวิตของโลกนี้แต่“พระเยซูเจ้าได้ทรงเสด็จกลับคืนพระชนมชีพไปสู่ชีวิตแบบใหม่ที่อยู่นอกเหนือความตาย” … “พระคริสตเจ้าจะต้องรับทนทรมานและดังนี้เพื่อที่จะเข้าสู่เกียรติมงคลขององค์พระเจ้า…จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจเพื่อรับอภัยบาป…”
มีอยู่สิ่งหนึ่งที่บทอ่านทั้ง3 บทนำเสนอให้กับพวกเราในวันนี้ก็คือการยกบาปสามารถเกิดขึ้นกับทุกๆคนซึ่งเป็นทุกข์กลับใจและเชื่อศรัทธาในองค์พระเยซูเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็น“พระผู้ไถ่”และดังนี้พวกเขาก็จะสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่จะรักและรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์
ตอนเย็นของวันอาทิตย์ปัสกาพวกอัครสาวกกำลังชุมนุมกันอยู่ที่“ห้องชั้นบน” อันเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์เจ้าได้ทรงล้างเท้าพวกเขาและได้เฉลิมฉลองมื้ออาหารสุดท้ายกับพวกเขาและเป็นที่นี่เองด้วยที่พวกเขาได้ทำการสาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อพระองค์ซึ่งก็ไปได้ไม่พ้นข้ามคืนนั้น…ณเวลานี้อัครสาวกแต่ละคนต่างก็มีบาดแผลด้วยกันทั้งนั้นเช่นบาดแผลแห่งความกลัวบาดแผลแห่งความสงสัยบาดแผลแห่งการรู้สึกว่าตัวเองผิดบาดแผลแห่งความเศร้าโศกและบาดแผลแห่งความหมดหวังดังนี้เป็นต้นและในเวลาเดียวกันพวกเขาก็มีบาดแผลของหมู่คณะด้วยคืออัครสาวกสองคนก็ไม่อยู่คนหนึ่งก็ได้ไปแขวนคอตาย(ยูดาส) ส่วนอีกคนหนึ่งก็หายไปไหนไม่รู้(โธมัส) อันสืบเนื่องมาจากวิกฤติแห่งความเชื่อส่วนตัว
พระเยซูเจ้าเองก็มิได้ทรงรอคอยให้พวกเขามาหาพระองค์แต่เป็นพระองค์เองที่ได้ทรงไปหาพวกเขาที่ยังเต็มไปด้วยความหวาดกลัว…พระองค์ได้ทรงปรากฎองค์ให้พวกเขาได้เห็นพระองค์มิได้ทรงตำหนิพวกเขาหรือดุด่าพวกเขาที่ได้ละทิ้งพระองค์พระองค์ทรงทราบถึงความรู้สึกของพวกเขาในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี…พระองค์มิได้ต้องการที่จะซ้ำเติมความรู้สึกที่ไม่ดีของพวกเขาแต่พระองค์กลับนำบางสิ่งบางอย่างที่ให้กำลังใจและความหวังมาให้พวกเขาโดยกล่าวทักทายพวกเขาว่า“สันติสุขจงอยู่กับพวกท่าน” และพระองค์ก็มิได้ทรงทักทายพวกเขาแต่เพียงครั้งเดียวแต่ได้ทรงทักทายถึงสองครั้งด้วยกันและในการตอบรับสันติสุขจากพระอาจารย์พวกเขาก็ได้รับการให้อภัยด้วย
ความตายความชั่วบาปและการทรยศได้ถูกทำให้พ่ายแพ้ไปตรงข้ามความดีความรักและชีวิตกลับได้รับชัยชนะ…พระเยซูเจ้าพระผู้มีพระทัยสุภาพอ่อนโยนได้รับชัยชนะเหนือพลังอำนาจแห่งความชั่วทั้งปวงซึ่งได้ลุกขึ้นต่อสู้กับพระองค์บัดนี้การเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และพวกอัครสาวกก็เปี่ยมไปด้วยความชื่นมื่นที่ได้แลเห็นพระอาจารย์เจ้า
การเข้าหาพวกอัครสาวกของพระเยซูเจ้าเปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนพระองค์มิได้ใช้กิริยาอาการและคำพูดรุนแรงแต่พระองค์กลับให้กำลังใจให้ชีวิตแบบใหม่ให้ความหวังใหม่อันเป็นการเสริมพลังให้กับพวกอัครสาวก
ปัสกาของพระเยซูเจ้ามิได้ถอดถอนความเจ็บปวดหรือความกลัวออกไปจากตัวเราแต่ได้นำเอาปัจจัยใหม่มาให้กับชีวิตของเราโดยให้ความหมายใหม่กับความเจ็บปวดของเราพลางส่องสว่างชีวิตของเราอย่างมีความหวังดังนั้นเมื่อเราตกอยู่ในการทดลองและในการผจญเราก็จะสามารถดึงเอาความกล้าหาญจากเรื่องราวของสานุศิษย์ของพระเยซูเจ้าซึ่งได้สะดุดหกล้มในระหว่างพระทรมานของพระองค์มาเสริมพลังชีวิตให้กับเรา
สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์