บทอ่านจากบทเทศน์ โดยนักบุญออกัสติน พระสังฆราชเครื่องบูชาที่จะถวายแด่พระเจ้า คือจิตใจที่เป็นทุกข์ตรมตรอม
กษัตริย์ดาวิดกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายอมรับในความผิดของข้าพเจ้า” ถ้าเรายอมรับผิดพระองค์ก็จะอภัยให้ อย่าได้ถือว่าถ้าเราเจริญชีวิตดี เราก็จะไม่มีบาป ชีวิตของเราจะได้รับคำชมเชยก็ต่อเมื่อเราวอนขออภัยเรื่อยไป เมื่อมนุษย์เพ่งเล็งเห็นบาปของตนเองน้อยเท่าไร เขาก็ยิ่งสนใจในบาปของคนอื่นมากขึ้นเท่านั้น พวกเขามุ่งจะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่มุ่งแก้ไข พวกเขาไม่สามารถจะแก้ตัวได้ แต่พวกเขาพร้อมที่จะกล่าวโทษผู้อื่น นี่มิใช่วิถีทางที่ดาวิดสอนเราว่า ต้องขอขมาโทษพระเจ้าอย่างไร ในเมื่อท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายอมรับความผิดของข้าพเจ้า และบาปของข้าพเจ้าอยู่ต่อหน้าข้าพเจ้าเสมอ” ท่านมิได้เพ่งเล็งบาปของผู้อื่น ท่านหันมาสนใจบาปของตนเอง ท่านมิได้โจมตีแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่ท่านมองลึกเข้าไปภายในตนเอง ท่านมิได้ถนอมตนเอง ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล้าที่จะขอให้ได้รับการทนุถนอม
ท่านอยากระงับพระพิโรธของพระเจ้าหรือ? จงเรียนรู้ว่าท่านต้องทำอย่างไร เพื่อให้พระเป็นเจ้าพอพระทัยในท่าน ท่านจงพิจารณาเพลงสดุดีที่ว่า “ถ้าพระองค์พอพระทัยในเครื่องสักการบูชา ข้าพเจ้าก็คงจะได้ถวายแด่พระองค์แล้ว แต่พระองค์ไม่ทรงพอพระทัย ในเครื่องเผาบูชา” ท่านจึงไม่ต้องมีสักการบูชากระนั้นหรือ? ท่านไม่ต้องถวายอะไรเลยหรือ? ท่านจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าได้หรือ ถ้าไม่มีเครื่องบูชา? จงระลึกถึงวาจาที่ท่านได้อ่าน ในเพลงสดุดีบทเดียวกันนั้น “ถ้าพระองค์พอพระทัยในเครื่องสักการบูชา ข้าพเจ้าก็คงจะได้ถวายแด่พระองค์แล้ว แต่พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชา” จงฟังต่อไปและกล่าวพร้อมกับกษัตริย์ดาวิดว่า “เครื่องบูชาที่จะถวายแด่พระเจ้านั้นคือ จิตใจที่เป็นทุกข์ตรมตรอม พระเจ้ามิทรงดูแคลนดวงใจสุภาพ และเป็นทุกข์ตรมตรอม” จงล้มเลิกเครื่องบูชาแต่เก่าก่อนของท่านเสีย เพราะบัดนี้ ท่านทราบแล้วว่าท่านควรถวายอะไร ถ้าเป็นในสมัยบรรพบุรุษของท่าน ท่านก็คงได้ถวายสัตวบูชา “ถ้าพระองค์พอพระทัยในเครื่องสักการบูชา ข้าพเจ้าก็คงจะได้ถวายแด่พระองค์แล้ว” พระเจ้าข้า พระองค์ไม่ทรงประสงค์สิ่งเหล่านี้ แต่พระองค์ก็ยังทรงประสงค์เครื่องบูชา
กษัตริย์ดาวิดกล่าวว่า “พระองค์จะไม่พอพระทัยในเครื่องเผาบูชา” ถ้าพระองค์ไม่พอพระทัยในเครื่องเผาบูชา ก็จะไม่มีการบูชาถวายพระองค์เลยหรือ? หามิได้ “เครื่องบูชาที่จะถวายพระเจ้าได้คือ จิตใจเป็นทุกข์ตรมตรอม พระเจ้ามิทรงดูแคลนดวงใจสุภาพและเป็นทุกข์ตรมตรอม”
บัดนี้ ท่านมีเครื่องบูชาถวายแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจฝูงสัตว์ ไม่จำเป็นต้องเตรียมเรือ เดินทางไปดินแดนไกลเพื่อหากำยาน สิ่งที่พอพระทัยพระเจ้านั้น จงเอามาจากในใจของท่านเอง ใจของท่านต้องแตกสลาย ท่านกลัวหรือว่ามันจะสลายไปเช่นนั้นจริงๆ? ท่านมีคำตอบอยู่แล้ว “พระเจ้าข้า โปรดสร้างใจบริสุทธิ์ให้ข้าพเจ้า เหตุว่า ใจบริสุทธิ์จะต้องถูกสร้างขึ้นมา และใจไม่บริสุทธิ์ต้องสลายไป
เราจะต้องไม่พอใจตนเอง เมื่อเราทำบาป เพราะบาปทำเคืองพระทัยพระเป็นเจ้า แม้ว่าเราเป็นเพียงคนบาป อย่างน้อยให้เราเหมือนพระเป็นเจ้าในเรื่องนี้ คือเราไม่พอใจในสิ่งที่เคืองพระทัยพระองค์ ในทำนองเดียวกัน เราจะสอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระ เพราะท่านเองก็ไม่พอใจในสิ่งที่พระผู้สร้างทรงรังเกียจ
จากการสารภาพที่พูดคุยในสัปดาห์ที่แล้วสู่
กรอบความคิดจากที่ว่า “อะไรที่มันดีกับเรา ก็ต้องดีกับคนรุ่นลูกของเรา” แต่ให้ตั้งคำถามว่า “อะไรที่จะนำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงแก่นความจริงของพระเจ้าได้ดีที่สุด?” แทน
อย่างไรก็ตาม แม้โลกและผู้คนจะเปลี่ยนไป แต่แก่นสาระที่ผู้คนต้องการยังคงเดิม และพระเจ้ามอบสิ่งนั้นให้คนรุ่นใหม่ได้ ซึ่งหนังสือ Growing Young ได้ให้แง่มุมและผลวิจัยที่น่าสนใจหลายอย่าง โดยบอกว่าคนรุ่นใหม่ต้องเผชิญความท้าทาย 3 ด้านในเรื่องอัตลักษณ์ (identity) การเป็นส่วนหนึ่ง (belonging) และวัตถุประสงค์ (purpose)
- Identity – “ฉันเป็นใคร?”
คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญวิกฤตด้านแสวงหาตนเอง บางคนจึงหาทางออกด้วยสร้างตัวตนบนสิ่งภายนอก ตามศิลปินที่ชื่นชอบ อยากเป็นที่ชื่นชอบเหมือนดารา สำรวจจากยอดไลค์ จำนวนผู้ติดตาม แฟน และข้อความคิดเห็นที่ส่งมาถึงเขา แต่สิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนได้ จึงเป็นตัวตนที่ไม่มั่นคง และเมื่อใดที่ตัวตนเหล่านี้ล้มเหลวก็จะทำให้วัยรุ่นรู้สึกด้อยค่า
แต่ความเป็นตัวเราจริงๆนั้นแหละที่พระเจ้ามอบให้นั้นต่างออกไปจากที่คิด ที่เราคาดฝัน ความเป็นเราและตระหนักว่าอยู่ต่อหน้าะระเจ้านำเราไปสู่การความเข้าใจตนเอง และรับรู้คุณค่าของตนเอง คริสตชนเชื่อว่าพระเจ้าสร้างเราอย่างมีเอกลักษณ์ และเอกลักษณ์ที่สำคัญ คือ ทรงรับเราเป็นบุตรของพระองค์ (กาลาเทีย 4:6-7) และให้ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข
วัด ชุมชน ครอบครัวคริสตชนจึงต้องเสริมสร้างความเข้าใจความเป็นคริสตชนนี้แก่คนรุ่นใหม่ ไม่ตัดสินคนบนผลงาน หรือเปลือกภายนอกของเขา พวกเราที่ทำงานกับคนรุ่นใหม่ได้ดีจะมุ่งส่งเสริมเขาให้มีความสัมพันธ์กับพระเยซู ไม่ใช่เป็นเพียงสมาคมที่มาร่วมกิจกรรม
แต่มุ่งเน้นไปที่การสอนคุณค่าพระวรสาร ความศรัทธา การมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้าในชีวิตประจำวัน ซึ่งนั่นเป็นการกลับสู่แก่นแท้ของการเป็นสาวกพระเยซู โดยให้เขาเป็นเจ้าของความเชื่อของตน มีตัวตนที่เป็นสาวกแท้ในชีวิตจริง…