ข้อคิดในเทศกาลมหาพรต
พี่น้อง อาทิตย์ที่สี่ พระศาสนจักรเชิญชวนให้เรา “คืนดี” และ “ให้อภัย” พ่อนำพระวรสารตอนนี้มาไตร่ตรองชีวิต โดยตั้งโจทย์ง่ายๆ 4 ข้อ กับตัวเองว่า
- เราต้องคืนดีกับใครบ้าง?
- กระบวนการของการกลับใจเป็นอย่างไร?
- หากเราต้องการคืนดีกับใครสักคน คำพูดและท่าทีที่เราปรารถนาจะได้ยินและได้เห็นจากคนนั้น เป็นอย่างไร?
- ทำไมเราต้อง “ให้อภัยผู้อื่น”?
คำถามข้อที่ 1 เราต้องคืนดีกับใครบ้าง?
“พ่อครับ ลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก”
พ่อตอบคำถามจากพระวรสารตอนนี้ สั้นๆ ง่ายๆ ว่า - สวรรค์ ในที่นี้ คือ “พระเจ้า”
- เพื่อนมนุษย์
คำตอบดูง่าย แต่ในชีวิตจริงก็ต้องยอมรับว่า บางครั้งก็ง่ายและบางครั้งก็ยากเกินจะทำ การคืนดีกับพระเจ้า เรามีศีลอภัยบาป ซึ่งเป็นสุดยอดของเครื่องมือแห่งการขอคืนดี แต่สำหรับมนุษย์ นับว่าเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งสำหรับเราคริสตชนที่เลือกติดตามพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงสอน และเป็นแบบอย่างให้กับเรา
จงรักพระเจ้า พระเจ้าของเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ
จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง
รักแม้กระทั่งศัตรูและมากกว่านั้นต้องภาวนาให้เขาด้วย
พี่น้องครับ เราไม่มี Timemachine ที่จะย้อนเวลากลับไปแก้ไขอะไรได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะลงมือทำอะไรไม่ได้เลย วันนี้ หากเราได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้า ก็อย่าทำใจดื้อรั้นเลย จงนั่งลง และก้มมองดูที่ตัวเราเถิด
- มหาพรตสัปดาห์ที่สี่แล้ว เราได้ขอคืนดี ขอการอภัยจากพระเจ้าด้วยการแก้บาป และรับพระหรรษทานผ่านทางศีลมหาสนิทแล้วหรือยัง?
- มีใครในชีวิตของเราบ้าง ที่เรายังไม่ได้หันกลับไปขอคืนดี?
วันนี้เราถูกท้าทายให้ สำนึกรู้ตัวและออกเดินทางกลับไปบ้าน
- ไปหาบิดาผู้ทรงความรัก และขอการอภัย
- ไปหาพี่น้องของเราที่เราเคยทำผิดต่อเขา และขอคืนดี
คำถามข้อที่ 2 กระบวนการของการกลับใจเป็นอย่างไร?
พ่อตอบคำถามข้อนี้โดยไตร่ตรองและอ้างอิงจากตัวอย่างของบุตรคนเล็กในพระวรสาร โดยสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง กระบวนการของการกลับใจเริ่มต้นจากการรับรู้สภาวะของตนเอง สภาพชีวิตจิตของเราในขั้นแรกนี้ เปรียบเหมือนกับบุตรคนเล็กที่รู้ตัวว่าตอนนี้ตนเองหมดสิ้นแล้วทุกสิ่ง ไม่มีเพื่อนฝูง เงินทอง ชีวิตและจิตใจตกอยู่ในสภาพของความแห้งแล้ง โดดเดี่ยวคล้ายกับกำลังเดินอยู่กลางทะเลทรายตามลำพัง ไม่มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย มองเห็นตนเองในสภาพของความขัดสน ขาดแคลน หิว กระหาย พ่อเรียกขั้นนี้ว่า “สภาวะของการยอมจำนน” (Surrender)
ขั้นที่สอง เป็นการรับรู้ว่าสภาวะของตนเองว่า “ต้องการอะไรอมากที่สุด” พ่อเรียกขั้นนี้ว่า “สภาวะของการดิ้นรน” สภาพชีวิตจิตของเราในขั้นที่สองนี้ เปรียบเหมือนบุตรคนเล็กที่พยายามออกแรง หาทางให้ชีวิตตนเองอยู่รอดได
ขั้นที่สาม “สภาวะของการตระหนักรู้และสำนึกผิด” เป็นเวลาของการทบทวนไตร่ตรองชีวิตของตน เกิดการยอมรับและสำนึกผิด
ขั้นที่สี่ “ตัดสินใจกลับบ้านไปหาพ่อ” ตั้งใจ และเตรียมคำพูดเพื่อขอการอภัย และขอคืนดี
ขั้นที่ห้า ออกเดินทางกลับ “บ้าน” ไปหา “พ่อ” เอ่ยคำขอโทษจากใจจริง”พ่อครับลูกทำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีก”
พี่น้อง เรามีศีลอภัยบาปเป็นสะพานที่เชื่อมเราไปหาพระเจ้า ขอให้เราเดินบนสะพานนี้กลับมาหาพระองค์บ่อยๆ
คำถามข้อที่ 3 หากเราต้องการคืนดีกับใครสักคน คำพูดและท่าทีของเขาที่เราอยากจะได้ยินและได้เห็นจากคนนั้นเป็นอย่างไร
ข้อนี้ พ่ออยากให้เราถามตนเอง และตอบลงในช่องว่างข้างล่างนี้เอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
เราอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา ก็จงทำสิ่งนั้นกับเขาเถิด เราจะรู้สึกมีความสุขมากเพียงใด หากเราได้รับการโอบกอดจากแม่ เมื่อเราตัดสินใจกลับบ้าน โดยที่แม่ไม่ถามสักคำว่า วันนั้นที่ทะเลาะกับแม่ทำไมต้องหนีออกจากบ้านไป แต่กลับถามว่า หิวไหม อยากกินอะไร แม่จะทำให้ เราจะมีความสุขมากเพียงใด เมื่อเราได้ยินเพื่อนพูดว่า “ไม่เป็นไร เราไม่โกรธเธอแล้ว” หลังจากมีเรื่องที่ทำให้มิตรภาพแตกหักไปเป็น 10 ปี
พี่น้อง หากเราเป็นผู้ที่ทำผิดและต้องการการอภัย เราคงมีความสุขที่ได้ยินและได้เห็นท่าทีเหล่านี้ คนอื่นก็อยากได้ยินและได้เห็นสิ่งเหล่านี้จากเราด้วย นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อยกมาให้เห็นภาพ ดังนั้น จงเริ่มจากตัวเอง พูดและทำ ให้คนที่เข้ามาหาเราได้รับความชื่นชมยินดีและมีสันติสุขกลับไป
คำถามข้อที่ 4 ทำไมเราต้อง “ให้อภัยผู้อื่น”?
พี่น้อง การให้อภัย ก็เป็นการกลับใจด้วย พ่อเชื่อว่าเราทุกคนปรารถนาที่จะเป็นคนดี แสวงหาความดี และพยายามทำความดี ละเว้นสิ่งผิดอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน แต่บางครั้งเรากลับตกม้าตายตรงที่เรากลับไม่ให้อภัยคนที่ทำผิดต่อเรา จะมีประโยชน์อะไร หากเราทำความดี ประพฤติตนอยู่ในหนทางแห่งความดี แต่กลับมองข้ามความทุกข์ของผู้อื่น และลืมไปว่าคนอื่นก็ต้องการที่จะได้รับความสุขด้วย หากเราเป็นเช่นนั้น เราก็คงไม่ต่างอะไรกับฟาริสี ที่เดินเข้าไปในพระวิหารและบอกพระเจ้าว่า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติทุกข้อ แต่ไม่เคยข้อนอก ขอโทษพระองค์ที่เปรียบเทียบตนเอง และวิพากษ์วิจารณ์คนเก็บภาษีที่กำลังเป็นทุกข์เสียใจในบาปผิดของตน
การให้อภัย จึงเป็นการ “กลับบ้านไปหาพ่อ” ด้วยเช่นเดียวกัน พี่น้อง บุตรชายคนโตเป็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดของการเห็นเศษฟางในตาของผู้อื่นแต่กลับมองข้ามท่อนซุงในตาของตนเอง
การรับใช้พ่อมานานหลายปี โดยไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของพ่อเลย เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่จะยิ่งดีมากขึ้น หากเขาให้อภัยน้องชายของตนเอง กลับเข้าบ้านร่วมฉลองพร้อมกับกับพ่อที่น้องชายคนนี้ตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้วได้พบกันอีก”
พี่น้อง มหาพรตเป็นเวลาแห่งการรอคอยของพระเจ้า
พระองค์ทรงรอคอยให้เรา “กลับบ้าน”
สวรรค์ คือ บ้านแท้นิรันดร
และในบ้านแท้นิรันดรแห่งนี้มี “บิดา” ผู้เป็น…