บทอ่านจากคำสอนของนักบุญซีริล แห่งเยรูซาเล็ม พระสังฆราช
การเสด็จมาสองครั้งของพระคริสตเจ้า
เราไม่ได้ประกาศถึงการเสด็จมาของพระคริสตเจ้าเพียงครั้งเดียว แต่ครั้งที่สองด้วย และรุ่งโรจน์กว่าครั้งแรกมาก ครั้งแรกแสดงถึงความพากเพียร และครั้งที่สองจะเสด็จมาและทรงสวมมงกุฎแห่งพระอาณาจักรสวรรค์
โดยทั่วๆ ไป เกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้าแล้วมีสองลักษณะ คือการบังเกิดจากพระเจ้าก่อนกาลเวลา และการบังเกิดจากพระนางพรหมจารีเมื่อถึงกำหนดเวลา การเสด็จมาอย่างซ่อนเร้นเหมือนฝนรดบนขนแกะ และการเสด็จมาต่อหน้าต่อตาทุกคน ซึ่งยังเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในการเสด็จมาครั้งแรก พระกายของพระองค์ถูกพันด้วยผ้าอ้อม บรรทมในรางหญ้า การเสด็จมาครั้งที่สองนั้นพระองค์จะทรงฉลองพระองค์ด้วยความสว่าง ในการเสด็จมาครั้งแรกพระองค์ทรงรับแบกกางเขนด้วยความอับอาย ในการเสด็จมาครั้งที่สอง พระองค์จะทรงรุ่งโรจน์ด้วยพระสิริและล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ ดังนั้น เราจึงมองเลยไปจากการเสด็จมาครั้งแรกและรอคอยการเสด็จมาครั้งที่สอง ในการเสด็จมา ครั้งแรกเรากล่าวว่า “เป็นบุญของผู้ที่เสด็จมาในพระนามของพระเจ้า” และในครั้งที่สอง เราจะกล่าวอีกว่า เราจะออกไปพร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ เพื่อพบพระองค์และกล่าวนมัสการพระองค์ว่า “เป็นบุญของผู้ที่เสด็จมาในพระนามของพระเจ้า”
พระผู้ไถ่จะเสด็จมา ไม่ใช่เพื่อรับการพิพากษาอีก แต่เพื่อพิพากษาผู้ที่ได้พิพากษาพระองค์ ในเมื่อพระองค์ได้ถูกพิพากษาพระองค์ทรงนิ่งเงียบ ดังนั้น พระองค์จะทรงกล่าวโทษผู้ที่ได้กระทำทารุณกรรมในการตรึงกางเขนพระองค์ว่า “พวกเจ้าได้ทำสิ่งเหล่านี้และเราได้นิ่งเงียบ”
พระองค์เสด็จมาครั้งแรกเพื่อให้แผนการแห่งความรักของพระองค์สำเร็จสมบูรณ์ เพื่อสอนมนุษย์ด้วยการเชิญชวนอย่างสุภาพ การเสด็จมาครั้งนี้ มนุษย์เราจะพอใจหรือไม่ก็ตาม แต่พวกเขาจำต้องอยู่ใต้การปกครองในพระอาณาจักรของพระองค์ ประกาศกมาลาคีกล่าวถึงการเสด็จทั้งสองครั้งว่า “และพระเจ้าที่พวกเจ้าเฝ้าคอยก็จะเสด็จมายังพระวิหารของพระองค์อย่างฉับพลัน” นี่คือการเสด็จมาครั้งแรก
และท่านกล่าวถึงการเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งว่า ดูเถิด พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพจะเสด็จมา และใครจะทนอยู่ได้ในวันที่พระองค์เสด็จมา หรือใครจะยืนหยัดอยู่ได้ เฉพาะพระพักตร์พระองค์ เพราะว่าพระองค์เสด็จมาดังไฟถลุงแร่ ประดุจสบู่ของช่างซักฟอก และพระองค์จะประทับนั่งเพื่อถลุงและชำระให้บริสุทธิ์”
การเสด็จมาทั้งสองครั้งนี้ นักบุญเปาโลได้กล่าวในจดหมายถึงทิตัสว่า “พระหรรษทานของพระเป็นเจ้าได้ปรากฏสำหรับความรอดของมนุษย์ทุกคน สอนเราให้ทิ้งความอธรรมและราคะตัณหาทางเนื้อหนัง และให้เจริญชีวิตอย่างมัธยัสถ์ ด้วยความศรัทธาและยุติธรรมในโลกนี้รอคอยการปรากฏของพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ ด้วยความไว้ใจอย่างศักดิ์สิทธิ์” จงสังเกตว่าท่านกล่าวถึงการเสด็จมาครั้งแรก เป็นการเชิญชวนให้เราขอบพระคุณพระเป็นเจ้า และการเสด็จมาครั้งที่สองซึ่งเรายังคงรอคอย
ฉะนั้น นี่คือเหตุผลที่ความเชื่อซึ่งเรายืนยันได้ถูกสืบทอดต่อมาถึงพวกท่านด้วยถ้อยคำว่า “พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับเบื้องขวาพระบิดา และพระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย รัชสมัยของพระองค์จะไม่สิ้นสุด”
ฉะนั้น พระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเราจะเสด็จมาจากสวรรค์ พระองค์จะเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์ในวันสุดท้ายเมื่อสิ้นพิภพ นี่แหละคืออวสานของโลกนี้ และโลกที่ได้ถูกสร้างสรรค์มานี้จะได้รับการเนรมิตขึ้นใหม่
“ “จงระวัง จงตื่นเฝ้าเถิด เพราะท่านทั้งหลายไม่รู้ว่าวันเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไร”
ถ้าเราได้ยินถ้อยคำนี้ เราคิดถึงไตร่ตรองถึงชีวิตของเราอย่างไรบ้าง? เป็นพิเศษในเรื่องการไตร่ตรองจิตวิญญาณของเรา เราไม่สามารถปกป้องรักษาความหวังและความเชื่อของเราไว้ได้หากเราหลับใหลอยู่
ซึ่งในพระวรสารมาระโกบทที่ 13 เราพบคำกระตุ้นเตือนที่พระเยซูให้แก่พวกเราอีกเรื่องหนึ่งเพื่อพวกเขาจะตื่นตัวอยู่เสมอ พระเยซูเปรียบสถานการณ์ของเหล่าสาวกกับสถานการณ์ของคนเฝ้าประตูที่คอยนายของตนกลับมาจากเดินทางไกล คนเฝ้าประตูไม่รู้เลยว่านายจะกลับมายามไหน เขาจึงได้แต่เฝ้าคอย พระเยซูตรัสถึงช่วงเวลาที่แตกต่างกันสี่ช่วงที่นายอาจมาถึง ช่วงที่สี่เริ่มตั้งแต่ตีสามจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น ในช่วงสุดท้ายนี้ ความง่วงอาจเข้าครอบงำคนเฝ้าประตูได้ง่าย ว่ากันว่าพวกทหารถือว่าช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นนี้เป็นช่วงเวลาดีที่สุดที่จะบุกจับข้าศึกแบบไม่ให้รู้ตัว ในทำนองเดียวกัน ในยุกของพวกเรา เมื่อโลกรอบตัวเราอยู่ในภาวะหลับสนิททางฝ่ายวิญญาณ เราอาจต้องบากบั่นยิ่งกว่าที่เป็นมาเพื่อจะตื่นตัวอยู่เสมอ ด้วยเหตุนั้น ในตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ของพระเยซู พระองค์จึงกล่าวกระตุ้นหลายครั้งว่า “จงคอยดูอยู่ จงตื่นตัวเสมอ . . . เหตุฉะนั้น จงเฝ้าระวังเสมอ . . . สิ่งซึ่งเราบอกพวกเจ้า เราก็บอกคนทั้งปวง จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”
ตัวอย่างสามคนที่ไม่ตื่นตัว การตื่นตัวอยู่เสมอต้องอาศัยบางสิ่งนอกเหนือจากความตั้งใจจริง ดังที่เราเห็นได้จากตัวอย่างของเปโตร, ยากอบ, และยอห์น ทั้งสามคนผู้ซึ่งติดตามพระเยซูด้วยความภักดีและมีความรักใคร่อย่างสุดซึ้งต่อพระองค์ ถึงกระนั้น ในคืนวันที่ 14 เดือนไนซาน ปี ค.ศ. 33 พวกเขาไม่ได้ตื่นตัวอยู่. เมื่อออกจากห้องชั้นบนที่พวกเขาฉลองปัสกา อัครสาวกสามคนนี้ติดตามพระเยซูเข้าไปในสวนเกทเสมนี ที่นั่น พระเยซูตรัสแก่พวกเขาว่า “ตัวเราเป็นทุกข์นักแทบถึงตาย. จงรออยู่ที่นี่และเฝ้าระวังกับเรา.” (มธ. 26:38) พระเยซูภาวนาถึงพระบิดาของพระองค์ถึงสามครั้ง และแต่ละครั้งที่กลับมาหาสหายของพระองค์ ก็พบว่าพวกเขากำลังหลับทุกครั้ง.—มธ. 26:40, 43,45.
เราจะรังและตื่นเฝ้าได้อย่างไร?
นักบุญเปาโลยังได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญสามประการ ท่านกล่าวว่า
“เราจงรู้จักประมาณตนไม่เมา
จงสวมความเชื่อและความรักเป็นเกราะป้องกัน
จงสวมความหวังที่จะได้รับความรอดพ้นเป็นเกราะป้องกันศีรษะ” (1 ธก. 5:8, )
ขอให้เราพิจารณาอย่างสั้น ๆ ถึงบทบาทของความเชื่อ, ความหวัง, และความรัก ในการช่วยให้เราตื่นตัวฝ่ายจิตวิญญาณอยู่เสมอ…