ข้อคิดอาทิตย์(ใบลาน)พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้าปีA
มธ26: 14-27. 66…พระบิดาเจ้าข้าถ้าเป็นไปได้ขอให้ถ้วยนี้พ้นข้าพเจ้าไปเถิดถ้าเป็นไปไม่ได้ก็ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้าแต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด…
วันนี้เราเริ่มต้นอาทิตย์ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการรำลึกถึงพระมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ขององค์พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพราะบาปของมนุษยชาติ…ให้เราได้หยุดไตร่ตรองสักครู่หนึ่งพลางคิดถึงบาปของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งบาปที่เป็นการทำร้ายเพื่อนพี่น้องของเรา
ข้อคิด…วันอาทิตย์พระมหาทรมานขององค์พระเยซูเจ้าหรือวันอาทิตย์ใบลานเป็นวันฉลองที่ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเป็นวันเดียวกันของทุกๆปีของศาสนาคริสต์แต่จะเป็นวันอาทิตย์หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันอาทิตย์ปัสกาวันฉลองนี้เชิญชวนให้เราได้รำลึกถึงเหตุการณ์หนึ่งซึ่งได้มีเล่าไว้ในพระวรสารทั้งสี่คือมก11: 1-11, มธ21: 1-11, ลก19: 28-44 และยน12: 12-19…เป็นการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้มีชัยของพระเยซูเจ้าในช่วงเวลาก่อนพระมหาทรมานของพระองค์
ตามที่ได้มีเล่าไว้ในพระวรสารว่าก่อนที่พระเยซูเจ้าจะเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่านั้นพระองค์ทรงแวะเข้าไปที่หมู่บ้านเบธานีและเบทฟายีบนภูเขามะกอกเทศและพระวรสารของนักบุญยอห์นยังได้กล่าวเสริมอีกว่าพระองค์ได้ทรงร่วมรับประทานอาหารกับลาซารัสพร้อมกับมารธาและมารีย์น้องสาวด้วยในขณะที่พระวรสารสหทรรศน์(3 ฉบับแรก)ได้เล่าว่าพระเยซูเจ้าได้ทรงส่งสาวกของพระองค์สองท่านโดยมิได้เอ่ยชื่อว่าเป็นใครให้ไปจัดหาลูกลาซึ่งยังไม่มีผู้ใดขึ้นไปขี่มาให้พระองค์ตัวหนึ่งและถ้าหากมีใครถามว่าจะเอาลูกลาไปทำไมก็ให้บอกว่าเจ้านาย(พระเยซูเจ้า)ต้องการใช้แต่จะส่งกลับคืนให้ทันทีหลังจากที่ใช้มันเสร็จแล้ว…พอได้ลูกลามาพวกสาวกก็เอาเสื้อคลุมของตนมาปูบนหลังลูกลาแล้วนั้นพระเยซูเจ้าก็เสด็จทรงลูกลาตัวนั้นเข้ากรุงเยรูซาเล็มพระวรสารได้เล่าต่อไปว่าพระองค์ได้ทรงลูกลาเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างไร…ประชาชนจำนวนมากได้ปูเสื้อคลุมของตนบนทางเดินบางคนก็ตัดกิ่งไม้มาวางบนทางเดินประชาชนทั้งที่เดินไปข้างหน้าและที่ตามมาข้างหลังต่างโห่ร้องว่า“โฮซานนาแด่โอรสของกษัตริย์ดาวิดขอถวายพระพรแด่ผู้มาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าโฮซานนาณสวรรค์สูงสุด”(สดด118: 25-26) ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าพระเยซูเจ้าได้เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มทางประตูไหนนักพระคัมภีร์หลายๆท่านบอกว่าน่าจะเป็นทาง“ประตูทอง” เพราะชาวยิวส่วนหนึ่งเชื่อว่าพระแมสสิยาห์จะต้องเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มผ่านทางประตูนี้อันสท้อนให้เห็นเหตุการณ์ในพระวรสาร…เป็นภาพที่ฝูงชนกำลังต้อนรับพระเยซูเจ้าพลางโบกกิ่งปาล์มไปมาและเอาเสื้อผ้าของตนมาปูเป็นทางเดินให้กับพระองค์สำหรับเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพระองค์ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระแมสสิยาห์
พระเยซูเจ้าทรงจัดการขบวนพาเหรดเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่าด้วยพระองค์เองอันเป็นสถานที่ที่บรรดาผู้นำทางศาสนาของชาวยิวได้วางแผนที่จะประหารชีวิตพระองค์…พระเยซูเจ้าทรงเดินพาเหรดเข้าไปอย่างรู้ตัวและเต็มใจว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับพระองค์เหมือนกับทหารหาญที่กำลังเดินเข้าสู่สนามรบอย่างไรอย่างนั้น…พระมหาทรมานกำลังจะเกิดขึ้นกับพระองค์หลังจากที่พระองค์ได้ทรงพาเหรดเข้าเมืองหลวงอย่างผู้ได้รับชัยชนะจากสงคราม…แต่ว่าหลังจากนั้นไม่กี่วันอะไรได้บังเกิดขึ้นกับพระองค์ซึ่งพระวรสารของนักบุญมัทธิวได้เล่าให้เราได้ฟังต่อไปว่าบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าได้ละทิ้งพระองค์ไป…ศิษย์คนหนึ่งได้ทรยศต่อพระองค์ด้วยการจูบ…ส่วนศิษย์อีกคนก็ได้ปฏิเสธพระองค์ด้วยคำสบถสาบานต่างๆนาๆ…เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่คับขันความกลัวก็ทำให้พวกเขาต่างคนต่างต้องหนีเอาตัวรอดและเมื่อพระมหาทรมานของพระองค์มาถึงตัวก็มีคำถามที่จะต้องตอบในทันทีทันใดว่าพวกศิษย์ของพระเยซูเจ้ายังต้องการที่จะยึดติดกับพระองค์และติดตามพระองค์อีกหรือและเมี่อบรรดาผู้มีอำนาจทางฝ่ายบ้านเมืองและทางศาสนากำลังรวมพลังที่จะหาทางกำจัดพระองค์และพวกเขายังจะสามารถเชื่อในพระองค์เมื่อพระเยซูเจ้ากำลังมุ่งไปสู่เขากัลวารีโอเพื่อให้ศัตรูของพระองค์เอาพระองค์ไปตรึงที่ไม้กางเขน
พระเยซูเจ้ากำลังจะต้องทนทุกข์อย่างแสนสาหัสอันจะเป็นการบั่นทอนพระบุคลิกภาพของพระองค์และผลักดันพระองค์ให้เข้าสู่ช่วงเวลาอันน่าสพึงกลัวอย่างยิ่งจริงๆแล้วพระองค์สามารถหนีเอาตัวรอดได้โดยไม่ยากแต่ว่าพระมหาทรมานที่กำลังรอพระองค์อยู่นั้นช่างยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าความปลอดภัยและการหนีเอาตัวรอดของพระองค์เอง…ความรักอันร้อนแรงที่พระองค์ทรงมีต่อมนุษยชาติยืนกรานให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการทดสอบครั้งสุดท้ายแห่งความรักของพระองค์…นั่นก็คือที่ไม้กางเขน
เราจะแลเห็นตลอดพระภารกิจของพระเยซูเจ้าซึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นแล้วว่าพระองค์ทรงแสวงหาน้ำพระทัยของพระบิดาเจ้าของพระองค์ในทุกๆกรณีไป…ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจในคนยากจนน่าสงสารและคนที่ถูกสังคมทอดทิ้งความรักความสนใจที่มีต่อผู้ด้อยโอกาสความไม่พอใจที่พระองค์ทรงมีต่อผู้มีอำนาจทางศาสนาที่พยายามเสาะหาภาระและความยากลำบากใหม่ๆมาใส่ให้กับประชาชนฯลฯ…ที่สุดรางวัลตอบแทนสำหรับความรักอันหาขอบเขตมิได้ของพระองค์ที่มีต่อทุกๆคนก็คือการถูกตรึงที่ไม้กางเขน
แน่นอนกางเขนของพระเยซูเจ้านั้นต้องตั้งอยู่ที่กลางหัวใจของคริสตศาสนิกชนทุกๆคนถ้าหากคริสตชนคนใดมีความเคลือบแคลงสงสัยว่ามีคนรักเราจริงๆหรือเปล่า…ก็ขอให้เรามองดูที่ไม้กางเขนที่ตรึงองค์พระเยซูเจ้าเพราะมีบางคนที่ได้สู้ทนยอมรับความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานที่คนๆนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยอมรับและยอมสู้ทนเพื่อคนอื่นเลยและคนๆนั้นก็คือ“พระเยซูเจ้าซึ่งเป็นพระบุตรพระเจ้าและถูกตรึงที่ไม้กางเขน” นั่นเอง
เรารำลึกถึงและถวายเกียรติให้กับพระทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าว่าเป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดแห่งความรักที่พระเจ้าได้ทรงแสดงออกให้กับมนุษยชาติเป็นความรักที่บุคคลคนหนึ่งซึ่ง“มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้นเป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหนแต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้นเป็นมนุษย์ดุจเรา” ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแสดงให้เราได้แลเห็นว่าแม้คนเราจะได้ทำบาปและทำความโง่เขลาต่างๆพระเจ้าก็ยังคงรักเราอยู่เสมอนี่เป็นหัวใจของเรื่องเล่าพระทรมานของพระเยซูเจ้า
“เราจงปูที่แทบพระบาทขององค์พระเยซูเจ้าไม่ใช่ด้วยเสื้อผ้าหรือกิ่งไม้ที่มีชีวิตน่าดูอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงแล้วก็ต้องเหี่ยวแห้งไปแต่ให้เราเอาตัวของเราเองที่สวมใส่พระหรรษทานหรือที่ดีกว่านั้นคือให้สวมใส่พระคริสต์ทั้งหมดเราที่ได้รับศีลล้างบาปในพระคริสตเจ้าแล้วต้องใช้ตัวเองเป็นเสื้อผ้าปูที่แทบพระบาทของพระองค์บัดนี้ความสกปรกของบาปได้รับการชำระล้างแล้วด้วยน้ำที่นำความรอดพ้นแห่งศีลล้างบาปและเราได้กลับขาวสะอาดเหมือนขนแกะฉะนั้นเราจะนำอะไรมาถวายแด่พระองค์ผู้ทรงพิชิตความตาย…ใบลานเท่านั้นหรือ? จงถวายสิ่งที่เหมาะสมอย่างแท้จริงกับชัยชนะของพระองค์… คือนำจิตวิญญาณของเราที่ได้รับการชะล้างให้สะอาดด้วยพระทรมานและการสิ้นพระชนม์ขององค์พระเยซูเจ้าไปต้อนรับแทนกิ่งไม…ให้เราร่วมร้องเพลงกับเด็กที่ออกมาต้อนรับพระองค์พลางร้องว่า “ขอถวายพระพรแด่ผู้มาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าสาธุการแด่กษัตริย์ของอิสราเอล” (บทเทศน์ของนักบุญอันดรูว์แห่งครีตในโอกาสวันอาทิตย์ใบลาน)
ข้อคิดวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์
ยน13: 1-15…พระเยซูเจ้าทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด…พระศาสนจักรรำลึกถึงพระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่การกอบกู้มนุษยชาติคือการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนการถูกฝังไว้ในพระคูหาและการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าอย่างสง่าในตรีวารปัสกา…
ข้อคิด…พระคริสตเจ้าสงฆ์สูงสุดทรงตั้งศีลมหาสนิท…การตั้งศีลมหาสนิทให้เป็นพิธีระลึกถึงพันธสัญญาใหม่เป็นทัศนะที่เราแลเห็นได้ชัดเจนที่สุดของพิธีกรรมในวันนี้โดยเรียกร้องให้คริสตชนได้รำลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สื่อความหมายของการช่วยให้รอดพ้นในการรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสตเจ้านอกนั้นพระศาสนจักรยังเชิญชวนให้เราได้ทำการรำพึงถึงทรรศนะอีก2 ประการของธรรมล้ำลึกที่เราทำการฉลองในวันนี้อีกด้วยคือการตั้งศีลบวชเป็นพระสงฆ์และการให้บริการฉันท์พี่น้องในความรัก…ดังนั้นการเป็นพระสงฆ์และความรักได้รับการประสานเข้าไว้ด้วยกันในศีลมหาสนิทนี้
…พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าอัครรสาวกคือพฤติกรรมแสดงความรัก…การที่นักบุญยอห์นได้เล่าเหตุการณ์ในชั่วโมงสุดท้ายๆแห่งชีวิตของพระเยซูเจ้ากับสานุศิษย์ของพระองค์รวมทั้งได้บันทึกและรวบรวมสุนทรพจน์ของพระองค์ในระหว่างการทานเลี้ยงมื้อสุดท้ายของพระองค์ด้วยโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงพฤติกรรมทางจารีตพิธีของปังและเหล้าองุ่นเช่นผู้นิพนธ์พระวรสารท่านอื่นๆแม้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ตายตัวและเก่าแก่ที่สุดของธรรมประเพณีที่กลุ่มคริสตชนเดิมมีอยู่แล้วดังที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับแรกที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้คือจดหมายของนักบุญเปาโลที่เขียนถึงชาวโครินธ์(1 คร11: 23-26) แต่เราก็เชื่อว่านักบุญยอห์นคงมีเหตุผลในการทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ตามท่านนักบุญยอห์นให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมของพระเยซูเจ้าที่ได้ล้างเท้าอัครสาวกทั้งได้กำชับให้พวกเขาทำเช่นเดียวกันด้วยและนี่เป็นเหมือนพินัยกรรมและแบบอย่างของพระองค์ที่ได้ให้กับบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์(ยน13:1-5)
พระเยซูเจ้ามิได้สั่งให้พวกเขาประกอบจารีตพิธีนี้แบบซ้ำๆซากๆอย่างเครื่องจักรแต่พระองค์ได้กำชับให้พวกเขาทำเหมือนที่พระองค์ได้ทรงกระทำ(ยน13:15) นั่นคือให้พวกเขาได้รู้จักให้บริการแก่กันและกันในทุกโอกาสและในทุกๆสถานที่ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระคริสต์ได้ทรงรักพวกเขาจนถึงที่สุด
ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งความรักทุกๆพฤติกรรมจึงเป็น“ศีลศักดิ์สิทธิ์”อย่างหนึ่งเพราะว่าเป็นพฤติกรรมของความเป็นจริงอันหนึ่งอันเดียวที่เรามนุษย์สามารถแลเห็นได้นั่นก็คือความรักของพระบิดาเจ้าในพระคริสต์และความรักของบรรดาคริสตชนในพระคริสต์
…การที่พระเยซูเจ้าประทานพระองค์เองให้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์คือศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก…พิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็นการรำลึกถึงยัญบูชาของพระเยซูเจ้านั้นคริสตชนสามารถจะมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อจะเป็นการรำลึกถึงความเสียสละของเราแต่ละคนด้วย…การสถิตอยู่อย่างแท้จริงในปังและเหล้าองุ่นของพระผู้ได้สิ้นพระชนม์และได้กลับคืนชีพน่าจะได้ขยายวงกว้างออกไปในบรรดาเพื่อนพี่น้องที่ใช้ชีวิตอยู่กับเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาผู้ที่น่าสงสารผู้ด้อยโอกาสฯลฯ
ใครก็ตามที่แยกชั้นวรรณะใครก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นและใครก็ตามที่ทำให้สังคมแตกแยกบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับรู้พระกายของพระคริสตเจ้าพิธีบูชาขอบพระคุณที่บุคคลดังกล่าวร่วมถวายด้วยนั้นไม่ใช่การรับพระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นอาหารแท้สำหรับโลกแต่จะเป็นพิธีกรรมที่ว่างเปล่าเป็นพิธีกรรมที่จะตัดสินลงโทษพวกเขาเอง
…สังฆภาพที่เกิดจากศีลมหาสนิทคือพระคุณสำหรับเอกภาพ…ในสังคมของคริสตชนความสัมพันธ์ที่มีต่อกันได้รับการปลูกฝังค่านิยมด้วยการให้บริการมิใช่ด้วยการใช้อำนาจและพวกเขาจะพบการแสดงออกดังกล่าวอย่างสมบูรณ์แบบก็ในเวลาที่พวกเขามาร่วมกันในพิธีบูชาขอบพระคุณ
พระสังฆราชและพระสงฆ์มีส่วนร่วมในภารกิจของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นคนกลางแต่ผู้เดียวท่านประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ทุกคนท่านปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณและโดยการประกาศพระธรรมล้ำลึกขององค์พระเยซูเจ้าท่านนำเอาคำภาวนาของสัตบุรุษมารวมกับบูชาของพระเยซูเจ้าและรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่โดยทำให้เป็นปัจจุบันอันเป็นบูชาแต่เพียงบูชาเดียวของพันธสัญญาใหม่กล่าวคือบูชาขององค์พระคริสตเจ้าซึ่งได้ทรงถวายพระองค์ท่านเองเป็นบูชาที่ไร้มลทินแด่พระบิดาเจ้าครั้งเดียวสำหรับตลอดไปท่านปฏิบัติดังนี้ในทุกๆพิธีบูชาขอบพระคุณจนกว่าจะถึงวันที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีก
ข้อคิดวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์หรือวันพระตายเป็นวันที่บรรดาคริสตชนทั่วโลกรำลึกถึงการตรึงพระเยซูเจ้าที่ไม้กางเขนและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ที่เขากัลวารีโอ
เรื่องเล่าพระทรมานของพระเยซูเจ้าตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์นจะช่วยให้เราเข้าใกล้ธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาได้เป็นอย่างดีและวันนี้เองที่เราคริสตชนจะทำการไตร่ตรองดูธรรมล้ำลึกนี้ของพระองค์เป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ในขณะที่ในพระวิหารมีการถวายบูชายัญลูกแกะปัสกา(ยน19: 31) ดังนั้นการถวายบูชายัญซึ่งคือพระองค์เองจึงเป็นการถวายบูชายัญอย่างแท้จริงและการกระทำเพียงครั้งเดียวนี้ก็เพียงพอสำหรับตลอดไปเพราะว่าบูชายัญที่เป็นจิตได้ทำให้บูชายัญที่เป็นวัตถุไร้ประโยชน์ไป
นอกนั้นเรายังมีรายละเอียดอื่นๆประกอบอีกด้วยซึ่งช่วยทำให้เรื่องราวการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นคือประการแรกพระเยซูเจ้ามิได้ถูกเขาหักขาอันสอดคล้องกับบทบัญญัติของชาวยิว(อพย12: 16) ประการที่สองมีโลหิตไหลออกจากสีข้างของผู้ที่ถูกแทงโลหิตนี้ได้ประทับตราให้กับผู้ที่เป็นประชากรใหม่อันได้แก่ผู้ที่พระเจ้าได้ช่วยให้รอดพ้น(เทียบอพย12: 7-13) ประการที่สามพระคริสตเจ้าทรงถูกตรึงที่ไม้กางเขนคือ“แกะปัสกาที่แท้จริง”เป็นพระองค์เองที่เป็น “ปัสกาของเรา”ที่ได้ถูกบูชายัญ
พระเยซูเจ้าเป็น“แกะปัสกาที่แท้จริง”เพราะว่าพระองค์คือความเป็นจริงของสิ่งที่บูชายัญในสมัยบรรพบุรุษได้แสดงออกให้เห็นในการถวายเกียติแด่พระเจ้าพระองค์เป็นการช่วยให้รอดพ้นที่ประชาชาติได้รับและได้หวังไว้…เป็นพันธสัญญากับพระเจ้าเป็นพระผู้ที่บันดาลให้แผนการณ์ของพระบิดาเจ้าได้สำเร็จเป็นไป
คุณลักษณะของพระเยซูเจ้าดังกล่าวที่ได้บรรยายไว้ในพระวรสารมิใช่เป็นของใหม่แต่อย่างใดเลยบรรดาประกาศกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศกอิสยาห์ได้บรรยายคุณลักษณะของ“ผู้รับใช้ของพระเจ้า”ในขณะที่ประกอบภารกิจในการช่วยให้ประชาชาติได้รับความรอดพ้นและให้เป็นที่สบพระทัยพระเจ้า…พระองค์ทรงเป็นเหมือนลูกแกะที่ไม่มีความผิดอะไรเลยแต่ว่าต้องแบกความบาปผิดของประชากรของพระองค์ทั้งยอมให้ศัตรูนำไปสู่แดนประหารโดยมิได้ปริปากแต่อย่างใดเลยและเป็นเพราะการสิ้นพระชนม์ที่พระองค์ยอมรับอย่างเต็มพระทัยนี้เองก็ก่อให้เกิดการเป็นผู้ชอบธรรม“สำหรับคนจำนวนมาก”
การพูดโต้ตอบกับปิลาโตแสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าชอบการนิ่งเงียบมากกว่าแม้ในขณะที่ผู้มีอำนาจทางฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายศาสนจักรกำลังตัดสินลงโทษพระองค์ให้ถึงตาย
เราคงจะไม่สามารถเข้าใจธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้าได้อย่างครบถ้วนถ้าหากว่าเราจะไม่ได้พินิจดูองค์พระชุมพาน้อยผู้ทรงเกียรติรุ่งโรจน์และกำลังยืนอยู่เฉพาะพระพักร์พระเจ้าด้วยพระวรกายอันเต็มไปด้วยบาดแผลแต่ในขณะเดียวกันพระศาสนจักรก็มุ่งไปหาพระองค์ด้วยความรักอย่างยิ่งที่ไม้กางเขนของพระองค์…งานวิวาหมงคลขององค์พระชุมพาน้อยได้เริ่มขึ้นแล้วแต่จะสำเร็จบริบูรณ์ก็เฉพาะในงานเลี้ยงฉลองในเมืองสวรรค์(เทียบวว19: 7-9)
การเดินรูป14 ภาค
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วที่ผู้ที่ไปจาริกแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็มจะต้องหาโอกาสและเวลาที่จะเดินรำพึงตามหนทางที่พระเยซูเจ้าได้ทรงดำเนินในระหว่างพระทรมานของพระองค์(มรรคาศักดิ์สิทธิ์/เดินรูป14 ภาค)และเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่คริสตชนได้นำเอาการปฏิบัตินี้มาปฏิบัติกันในท้องถิ่นของตนเองโดยเดินตามกางเขนที่มีผู้ถือนำหน้าพลางรำลึกถึงขั้นตอนต่างๆของพระทรมานที่พระเยซูเจ้าต้องรับทนและเราเรียกการปฏิบัตินี้ว่า“การเดินรูป14 ภาค”
การเดินรูป14 ภาคนี้เรียกร้องให้ผู้ที่ปฏิบัติทำการรำพึงคิดถึงการทนทุกข์ยากลำบากและความเจ็บปวดของพระเยซูเจ้าในแต่ละภาคซึ่งในยุคเริ่มแรกยังไม่ได้มีการกำหนดบทสวดเฉพาะลงไปทั้งยังไม่มีการเรียกชื่อสำหรับแต่ละภาคดังในเวลานี้ด้วย…เราควรจะให้ความสนใจในการรำพึงธรรมล้ำลึกแห่งความรักและการอุทิศตนของพระเยซูเจ้าและของพระมารดาของพระองค์ทั้งให้เราวิงวอนขอพระองค์ให้เรามีส่วนอย่างใกล้ชิดในยัญบูชาฝ่ายจิตของท่านทั้งสองมากกว่าที่จะให้ความสนใจถึงลำดับขั้นตอนของเหตุการณ์ต่างๆของพระทรมานของพระองค์ พระคริสต์ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนคือการไขแสดงของพระเจ้าพระบิดาที่รักเรามนุษย์อย่างที่สุดและได้ทรงแสดงพระฤทธานุภาพของพระองค์ในความอ่อนแอและในความล้มเหลวของมนุษย์
ในขณะเดียวกันพระคริสต์ที่ถูกตรึงที่ไม้กางเขนก็เป็นมนุษย์ที่แท้จริงซึ่งได้ยอมมอบชีวิตของตนเพื่อคนอื่นและเพื่อพระเจ้า
ข้อสังเกตให้ไตร่ตรอง: มีคนสี่คนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์
1. ผู้ร้ายคนหนึ่งที่ถูกตรึงกางเขนข้างๆพระเยซูเจ้า…ได้วิงวอนขอพระองค์ให้ทรงระลึกถึงเขาเมื่อพระองค์จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระองค์(ลก23: 39-43)
2. นายร้อยทหารโรมัน…ได้ประกาศว่า“ชายคนนี้เป็นพระบุตรพระเจ้าแน่ทีเดียว”(มก15: 39)
3. โยเซฟชาวอาริมาเธีย…ซึ่งเป็นศิษย์ลับๆคนหนึ่งของพระเยซูเจ้าและเป็นสมาชิกสภาฯก็ได้ออกมาจากการซ่อนตัวตลอดระยะเวลาที่พระเยซูเจ้ายังมีชีวิตอยู่
4. นิโคเดมัส…ก็เป็นศิษย์ลับๆอีกคนหนึ่งของพระเยซูเจ้าเหมือนกันและเป็นสมาชิกสภาฯและได้เคยมาเฝ้าพระองค์เวลากลางคืนก็มาพร้อมกับโยเซฟชาวอาริมาเธียทั้งสองได้ช่วยกันปลงพระศพของพระเยซูเจ้า(ยน19: 38-42; 7: 50-52)
เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสี่ท่านนี้ได้รับการเปลียนแปลงจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้ามากกว่าจากชีวิตของพระองค์ทั้งสี่คนได้ตระหนักและยอมรับว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ใดและการยอมรับที่ว่านี้ได้นำพวกเขาไปสู่ความเชื่อการประกาศยืนยันและการลงมือทำกิจการ
เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับพระเยซูเจ้าและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เราก็ควรจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ความเชื่อการประกาศยืนยันและการลงมือทำกิจการเช่นเดียวกับบุคคลทั้งสี่ที่ได้เอ่ยถึงนี้
ความกลัวที่จะยอมเปิดเผยตัวเองทำให้เราต้องซ่อนความเชื่อของเราจากเพื่อนฝูงคนรู้จัก…หรือความกล้าที่จะเปิดตัวของเราออกมาให้คนอื่นเขารู้ว่าเรากำลังติดตามและเป็นศิษย์ของใคร?
สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์