ข้อคิดสมโภชพระจิตเจ้า ปีB
กจ2: 1-11…”สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิดพระบิดาทรงส่งเรามาฉันใดเราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น”ตรัสดังนี้แล้วพระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลายตรัสว่า“จงรับพระจิตเจ้าเถิดท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใดบาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัยท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใดบาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย”…
ในวันสมโภชพระจิตเจ้าเราได้แลเห็นหมู่คณะใหม่คณะหนึ่งได้เกิดขึ้นคือพระศาสนจักร…เป็นวันที่บรรดาอัครสาวกได้ออกจากห้องชั้นบนที่ซึ่งพวกเขาได้ซ่อนตัวอยู่เพราะกลัวพวกยิวพวกเขาได้ออกจากห้องไปอย่างไม่เกรงกลัวผู้ใดออกไปประกาศข่าวดีของพระเยซูเจ้า…เพราะในวันนี้เป็นวันที่พระเยซูเจ้าพระผู้ทรงซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับบรรดาอัครสาวกโดยได้ทรงส่งพระจิตเจ้ามายังพวกเขา…
ข้อคิด…การเสด็จมาขององค์พระจิตเจ้าได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในตัวพวกอัครสาวกทั้งได้เห็นการเปิดตัวของพระศาสนจักรใหม่ของพระเยซูเจ้าด้วย
วันสมโภชพระจิตเจ้าในวันนี้จะต้องเป็นการรื้อฟื้นพระพรขององค์พระจิตเจ้าในบรรดาสัตบุรษแต่ละคนและในพระศาสนจักรโดยส่วนรวมด้วยพระพรของพระจิตเจ็ดประการมีพระดำริสติปัญญาความคิดอ่านพละกำลังความรู้ความศรัทธาและความยำเกรงพระเจ้า…พระดำริสติปัญญาและความคิดอ่านจะช่วยนำทางจิตใจของเราและช่วยเหลือมโนธรรมของเราในการแยกแยะว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด…พละกำลังจะช่วยเราให้กระทำสิ่งที่ถูกต้องแม้สิ่งนั้นจะยากลำบากหรือไม่เป็นที่ชื่นชอบ…ความยำเกรงพระเจ้าจะทำให้เรายำเกรงพระเจ้าอย่างแท้จริง
นักบุญเปาโลกล่าวถึงผลของพระจิตว่า”ผลของพระจิตเจ้าคือความรักความชื่นชมความสงบความอดทนความเมตตาความใจดีความซื่อสัตย์ความอ่อนโยนและการรู้จักควบคุมตนเองสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งงดงามและทำให้ชีวิตมีความชื่นชมยินดี“ (กท5: 22)
ส่วนนักบุญลูกากล้าที่จะมองดูธรรมประเพณีของชนชาวยิวว่าวันสมโภชพระจิตเจ้าเป็นเหมือนการเฉลิมฉลองการที่พระยาเวห์ทรงประทานธรรมบัญญัติให้กับพวกเขาบนภูเขาซีนัยในวันนั้นได้มีลมพัดแรงกล้ามีเปลวไฟและได้มีพระสุรเสียงหนึ่งประกาศธรรมบัญญัติต่อมาเปลวไฟนั้นได้แยกตัวออกเป็นลิ้นไฟ70 ลิ้นด้วยกันอันสอดคล้องกับ70 เชื้อชาติของสากลโลกธรรมบัญญัติที่ว่านี้ได้รับการประกาศมิใช่แก่ชนชาติอิสราแอลเท่านั้นแต่ได้ประกาศให้กับมนุษยชาติทั้งหมดด้วยเช่นเดียวกันสำหรับนักบุญลูกาในวันที่พระจิตเสด็จลงมายังพวกอัครสาวกก็มีลมพัดกรรโชกแรงและลิ้นไฟที่ได้ลงมายังกลุ่มของพวกศิษย์แต่การประกาศนั้นมิใช่เป็นการประกาศธรรมบัญญัติแต่เป็นการประกาศข่าวดีที่ได้ยกเลิกคำสาปแช่งของความแตกแยกที่หอบาแบลและเป็นการรวบรวมประชาชาติที่ได้กระจัดกระจายไปให้มาเป็นหนึ่งเดียวกันเสียใหม่
ส่วนสำหรับนักบุญยอห์นการประทานพระจิตเจ้านั้นได้บังเกิดขึ้นในวันปัสกาวันที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จกลับคืนพระชนมชีพซึ่งจริงๆแล้วก็มิได้ขัดแย้งอะไรกับเรื่องเล่าของนักบุญลูกาในหนังสือกิจการของอัครสาวกแต่อย่างใดเพราะทั้งนักบุญยอห์นและนักบุญลูกาต่างก็ได้พูดถึงเรื่องเดียวกันคือพระผู้ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพได้ทรงประทานพระพรขององค์พระจิตเจ้าและได้ทรงเปิดตัวพันธกิจของพระศาสนจักรมีแต่เรื่องของวันเวลาที่แตกต่างกันสำหรับทั้งสองท่านเท่านั้นทั้งนี้ก็เป็นเพราะทั้งสองท่านต่างมีมุมมองทางเทววิทยาที่ไม่เหมือนกันนั่นเองจึงมิใช่เป็นประเด็นที่จะต้องนำมาถกเถียงกันให้ยืดยาว
ภาษาใหม่ขององค์พระจิตเจ้า
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆอย่างหนึ่งในการสื่อสารของเรามนุษย์ถ้าหากว่าเราไปในประเทศที่เราใช้ภาษาของเขาไม่ได้เราก็จะรู้สึกอึดอัดเอามากๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไปไหนมาไหนเรื่องการถามหาอาหารการกินและที่อยู่อาศัยเรื่องการสื่อสารกับคนอื่นๆฯลฯตรงข้ามเรากลับรู้สึกเป็นสุขและดีใจเมื่อคนอื่นที่เราพูดจาด้วยเข้าใจสิ่งที่เราสื่อสารกับเขา
ส่วนใหญ่แล้วโดยอาศัยการพูดจาที่เรามนุษย์แสดงออกซึ่งความต้องการอารมณ์ความรู้สึกฯลฯให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับรู้
แต่ว่าภาษาเพียงอย่างเดียวก็น่าจะไม่เพียงพอที่จะนำมนุษย์ให้มาอยู่ด้วยกันเพราะถึงกับมีบางคนพูดว่า“คำพูดสามารถเป็นต้นเหตุของการเข้าใจผิด” ก็มีซึ่งยอมหมายถึงว่าแม้เราจะพูดภาษาเดียวกันก็มิใช่ว่าเราจะเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะหัวใจและจิตวิญญาณของแต่ละคนไม่ได้มีโอกาสมาพบปะกันและทำความเข้าใจซึ่งกันและกันนั่นเอง
ในทางตรงกันข้ามคนเราแม้จะพูดภาษาที่ต่างกันถึงจะเป็นคนแปลกหน้าไม่รู้จักกันแต่ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันไม่เพียงแต่จะกลายเป็นเพื่อนร่วมงานเท่านั้นแต่สามารถเป็นพี่น้องกันได้อีกด้วยและณวันที่มีความปีติยินดีหรือวันที่มีความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวงหรือในวันที่มีอันตรายต่อหมู่คณะหรือต่อประเทศชาติความแตกต่างทางภาษาก็คงจะต้องถูกยกยอดออกไปเราคงจะต้องยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กันและจะต้องรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อที่จะสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆเหล่านั้น
นอกจากคำพูดซึ่งเป็นวิธีการอันหนึ่งในการสื่อสารแล้วก็ยังมีวิธีการอื่นๆอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆซึ่งสามารถถูกนำมาใช้ในการสื่อสารได้อีกด้วยเช่นเดียวกับในวันที่พระจิตเจ้าเสด็จลงมายังบรรดาอัครสาวกและศิษย์คนอื่นๆของพระเยซูเจ้าลมพัดแรงและลิ้นไฟอันเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลังก็ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารด้วย
อย่างไรก็ตามภาษาก็ยังมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเรามนุษย์อยู่นั่นเองเราได้รับการบอกเล่าว่าในวันพระจิตเสด็จลงมาทุกคนได้ฟังเข้าใจพวกอัครสาวก
พวกอัครสาวกได้พูดภาษาใหม่หรือ?
ภาษาใหม่ที่พวกอัครสาวกพูดนั้นเป็นภาษาของสันติสุขมิใช่เป็นภาษาของการทำสงครามหรือการต่อสู้กันเป็นภาษาของการปรองดองคืนดีกันมิใช่เป็นภาษาของความขัดแย้งกันเป็นภาษาของความร่วมมือกันมากกว่าของการแก่งแย่งชิงดีกัน…พวกเขาพูดภาษาของการให้อภัยแทนที่จะเป็นภาษาของการแก้แค้นพูดภาษาของความหวังมากกว่าภาษาของความหมดหวังพูดภาษาของการอยู่ร่วมกัน มากกว่าภาษาของการมีทิฐิพูดภาษาของมิตรภาพมากกว่าภาษาของความเป็นศัตรูกันพูดภาษาของเอกภาพมากกว่าภาษาของการแตกแยกและสุดท้ายพวกเขาพูดภาษาของความรักมากกว่าที่จะพูดภาษาของความเกลียด
ภาษาใหม่ที่ว่านี้ก่อให้เกิดกลุ่มชนแบบใหม่ขึ้นเป็นกลุ่มชนของบรรดาผู้ที่เชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นกลุ่มชนแห่งความเชื่อและความรัก ตามที่มีบรรยายไว้ในหนังสือกิจการของอัครสาวกว่าบรรดาศิษย์รุ่นแรกๆของพระเยซูเจ้าได้ใช้ชีวิตอย่างเป็น“น้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (กจ1: 14)
โดยอาศัยพระพรของพระจิตเจ้าบรรดาสัตบุรุษที่พูดภาษาต่างกันต่างก็เรียนรู้ที่จะยืนยันความเชื่อเดียวกันร่วมใจกันสรรเสริญองค์พระเจ้าเดียวกันและปฏิบัติความรักที่พระเยซูเจ้าได้ทรงกำชับไว้นี่แหละที่เป็นอัศจรรย์ที่แท้จริงของวันพระจิตเสด็จลงมาและก็ยังเป็นอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นทุกๆวันในพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งณเวลาที่พวกเขามาร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณโดยการฟังพระวาจาและหักปังร่วมกัน
ขอขอบพระคุณพระเจ้า
สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์