แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ
สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
สำหรับวันของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสากลครั้งที่105 ประจำปีค.ศ. 2019
(วันอาทิตย์ที่29 กันยายนค.ศ. 2019)
“นี่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้อพยพเท่านั้น แต่…”
พี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย
ความเชื่อทำให้เรามั่นใจว่าในวิถีที่เร้นลับพระอาณาจักรของพระเจ้าประทับอยู่ในโลกนี้แล้ว(เทียบสมณกฤษฎีกาสภาสังคายนาวาติกันที่2 ความยินดีและความหวังGaudium et spes, ข้อ39) กระนั้นก็ดีในช่วงยุคสมัยของเรา เรารู้สึกเป็นทุกข์เสียใจที่ต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคและความขัดแย้งมากมายความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงและสงครามอันโหดร้ายยังคงดำเนินต่อไปที่ทำให้มวลมนุษย์แตกแยกออกจากกันปรากฏการณ์แห่งความอยุติธรรมและการรังเกียจสีผิวยังคงเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าความเหลื่อมล้ำกันในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมทั้งระดับท้องถิ่นและสากลมีความยากลำบากที่จะแก้ไขและที่สำคัญก็คือคนที่ยากจนที่สุดในบรรดาคนยากจนและคนที่ด้อยโอกาสมากที่สุดกลายเป็นบุคคลที่ต้องจ่ายราคาชีวิตคือผู้รับเคราะห์
สังคมที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจมากที่สุดกำลังทำให้เราเห็นแนวโน้มที่กำลังเพิ่มขึ้นสู่ปัจเจกนิยมประกอบกับกับยึดหลักที่เอาแต่ได้ข้างเดียวอีกทั้งเสริมด้วยสื่อสารมวลชนกำลังก่อให้เกิด“โลกาภิวัตน์แห่งความเพิกเฉย” ในบริบทนี้ผู้อพยพผู้ลี้ภัยผู้พลัดถิ่นและเหยื่อของของการค้ามนุษย์กลายเป็นกลุ่มชนที่ถูกตัดขาดออกไปจากสังคมนอกเหนือไปจากความทุกข์ยากที่พวกเขาตกอยู่ในสภาพดังกล่าวบ่อยครั้งพวกเขาจะถูกมองว่าเป็นต้นตอแห่งความเลวร้ายของสังคม ทัศนคติดังกล่าวเป็นเสียงระฆังเตือนภัยถึงความเสื่อมโทรมของจริยธรรมที่เราต้องเผชิญ หากเรายังปล่อยให้มีพื้นที่สำหรับวัฒนธรรมแบบกินทิ้งกินขว้าง ความจริงหากยังสภาพเช่นนี้ดำเนินต่อไปบุคคลใดก็ตามที่ไม่สังกัดอยู่ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับกันในการกินดีอยู่ดีฝ่ายกายฝ่ายปัญญาและฝ่ายสังคมล้วนเสี่ยงที่จะถูกโดดเดี่ยวและถูกตัดออกจากสังคม
ด้วยเหตุนี้การเห็นผู้อพยพและผู้ลี้ภัยปรากฏอยู่ทั่วไป–และผู้ที่อ่อนแอเพิ่มขึ้นอย่างดาษดื่น-จะต้องเป็นการเชื้อเชิญให้เราค้นหามิติที่สำคัญบางประการแห่งความเป็นคริสตชนและความเป็นมนุษย์ของเราซึ่งเสี่ยงที่จะถูกมองข้ามในสังคมที่เจริญรุ่งเรืองนี่คือเหตุผลที่ไม่ใช่เป็นแค่ผู้อพยพย้ายถิ่น เมื่อเราแสดงความห่วงใยต่อพวกเขาเราก็แสดงความห่วงใยต่อตัวเราเองด้วยเพราะในการดูแลพวกเขาเราก็พลอยที่จะเจริญเติบโตไปด้วยในการฟังพวกเขาเราก็ให้เสียงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเราที่เราอาจเก็บซ่อนเอาไว้ได้เพราะว่าทุกวันนี้ไม่ค่อยมีใครเขาสนใจระหว่างกัน
“ทำใจให้ดีเราเองอย่ากลัวเลย” (มธ. 14: 27) นี่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้อพยพแต่ยังเกี่ยวกับความกลัวของเราด้วย เครื่องหมายแห่งความใจจืดใจดำที่เราเห็นรอบตัวเราเพิ่มด้วย“ความกลัวของเราต่อผู้อื่น” คนที่เราไม่รู้จักคนที่อยู่โดดเดี่ยวคนต่างชาติ… ทุกวันนี้เราสังเกตเห็นกันมากเป็นพิเศษผู้อพยพและผู้ลี้ภัยมาเคาะที่ประตูบ้านของเราขอความคุ้มครองความปลอดภัยและอนาคตที่ดีกว่าในมุมมองหนึ่งความกลัวดังกล่าวก็มีความชอบธรรมเพราะไม่มีการเตรียมตัวสำหรับเหตุการณ์เช่นนี้” (บทเทศน์ที่ซาโกรฟาโนวันที่15 กุมภาพันธ์ค.ศ. 2019) แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเราสงสัยหรือกลัวแต่อยู่ที่การทำให้ความคิดและการกระทำของเรามีเงื่อนไขจนถึงจุดที่ทำให้เราหมดความอดทนปิดกั้นตัวเองและโดยที่เราไม่รู้ตัวกระทั่งกลายเป็นคนที่รังเกียจเชื้อชาติไปโดยวิธีนี้ความกลัวจะทำให้เราขาดความปรารถนาและความสามารถที่จะเผชิญหน้ากับผู้อื่นคนที่แตกต่างจากเราซึ่งทำให้ตัวฉันไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับพระเจ้า(เทียบบทเทศน์พิธีบูชาขอบคุณวันผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสากลวันที่14 มกราคมค.ศ. 2018)
“ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่านท่านจะได้รับบำเหน็จรางวัลอะไรเล่าบรรดาคนเก็บภาษีมิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ” (มธ. 5: 46) นี่ใช่แค่ผู้อพยพแต่เกี่ยวกับความรักเมตตาอาศัยงานแห่งความรักเมตตาเราจะแสดงถึงความเชื่อของเรา(เทียบยก. 2: 18) และรูปแบบของความรักที่ดีที่สุดคือการแสดงต่อผู้ที่ไม่สามารถจะตอบแทนเราหรือกระทั่งแม้จะขอบคุณเพื่อตอบแทนเรานี่ยังเกี่ยวกับใบหน้าที่เราต้องการมอบให้กับสังคมของเราและเกี่ยวกับคุณค่าแห่งชีวิตมนุษย์แต่ะคน… ความเจริญก้าวหน้าแห่งประชากรของเรา… ที่สำคัญขึ้นอยู่กับการเปิดใจกว้างของเราในการที่ได้รับการสัมผัสและขับเคลื่อนจากผู้ที่มาเคาะประตูบ้านของเราใบหน้าของพวกเขาทุบทำลายพระเท็จเทียมเหล่านั้นที่เข้ามาแทนที่ความจริงและทำให้ชีวิตของเราตกเป็นทาสความเท็จพระเท็จเทียมที่ให้สัญญาความสุขที่หลอกลวงและแบบชั่วคราวซึ่งทำให้ชีวิตของเราบอดมืดและสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น. (คำปราศรัยที่คาริตัสระดับสังฆมณฑลแห่งกรุงราบัต30 มีนาคมค.ศ. 2019)
“แต่ชาวสะมาเรียคนหนึ่งเดินทางผ่านมาใกล้ๆเห็นเขาก็รู้สึกสงสาร” (ลก. 10: 33) นี่ไม่ใช่แค่ผู้อพยพแต่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของเราความสงสารเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวสะมาเรียซึ่งสำหรับชาวยิวแล้วเป็นคนแปลกหน้าไม่เดินผ่านไปเฉยๆความสงสารเป็นความรู้สึกที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยระดับของเหตุผลล้วนๆความสงสารจุดประกายให้กับเส้นประสาทที่มีความรู้สึกไวที่สุดแห่งความเป็นมนุษย์ของเราซึ่งกระแสให้เราเป็น“เพื่อนบ้าน” กับทุกคนที่เราพบเห็นว่ากำลังตกอยู่ในความทุกข์ยากเฉกเช่นที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนเรา(เทียบมธ. 9: 35-36; 14: 13-14; 15: 32-37) การเห็นอกเห็นใจหมายถึงการตระหนักถึงความทุกข์ของผู้อื่นและลงมือกระทำทันทีเพื่อบรรเทาความทุกข์ดังกล่าวทำการเยียวยาและช่วยให้รอดเพื่อแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจหมายถึงหาพื้นที่เพื่อแสดงความอ่อนโยนซึ่งสังคมทุกวันนี้บ่อยครั้งขอให้เรางดการแสดงหรือจัดฉาก“การเปิดใจกว้างให้กับผู้อื่นไม่ได้ทำให้เรายากจนลงตรงกันข้ามเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับเราเพราะว่านี่จะสามารถทำให้เรามีความเป็นมนุษย์เพิ่มขึ้นให้ยอมรับว่าเราเป็นผู้มีส่วนร่วมในสังคมที่ใหญ่กว่าและให้เข้าใจว่าชีวิตของเราเป็นของขวัญสำหรับผู้อื่นให้เราเห็นเป้าหมายไม่ใช่ผลประโยชน์ของเราแต่เป็นความดีของมนุษยชาติ” (คำปราศรัยที่สุเหร่าฮีดาร์อาลีเยฟณกรุงบาคู2 ตุลาคมค.ศ. 2016)
“จงระวังให้ดีอย่าดูหมิ่นคนธรรมดาๆเหล่านี้คนใดเลยเราบอกท่านทั้งหลายว่าทุกขณะในสวรรค์ทูตสวรรค์ของเขาเฝ้าชมพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์” (มธ. 18: 10) นี่ไม่เป็นแค่ผู้อพยพแต่เป็นเรื่องของการที่ต้องดูว่าจะไม่มีผู้ใดถูกตัดออกไป โลกของเราทุกวันนี้ยิ่งวันยิ่งจะเป็นโลกของคนผู้ดีมีตระกูลแล้วก็เหี้ยมโหดต่อผู้ที่ถูกตัดออกจากสังคมมากขึ้นทุกทีประเทศที่พัฒนาแล้วใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์เพื่อประโยชน์ของการตลาดที่มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่นเพียงไม่กี่แห่งแม้ว่าสงครามมีผลกระทบต่อบางภูมิภาคของโลกเท่านั้นแต่มีการผลิตอาวุธสงครามสำหรับขายให้กับภูมิภาคอื่นๆที่ดูเหมือนจะไม่เต็มใจต้อนรับผู้ลี้ภัยที่เกิดจากความขัดแย้งเหล่านั้นผู้ที่ต้องรับเคราะห์คือเด็กคนยากจนและคนที่อ่อนแอซึ่งถูกห้ามมิให้นั่งร่วมโต๊ะอาหารพวกเขาต้องเก็บเศษขนมปังที่หล่นจากโต๊ะมากิน(เทียบลก. 16: 19-21) “พระศาสนจักรที่ต้องก้าวออกไปข้างนอก…สามารถก้าวออกไปอย่างกล้าหาญด้วยความคิดริเริ่มเพื่อไปหาผู้อื่นแสวงหาผู้ที่หลุดออกไปยืนที่สี่แยกคอยต้อนรับผู้ที่ต่ำต้อยเหล่านั้น” (สมณสาส์นเวียนEvangelii Gaudium, ข้อ24) การพัฒนาที่เป็นเชิงลบคือการตัดบางคนหรือบางกลุ่มออกไปอันทำให้คนรวยก็ร่ำรวยมากขึ้นและคนยากจนก็จนลงไปอีกตรงกันข้ามการพัฒนาที่ดีต้องรวมมนุษย์ชายหญิงทุกคนในโลกส่งเสริมการเจริญเติบโตแบบองค์รวมของพวกเขาแล้วแสดงความห่วงใยต่อชนรุ่นหลัง
“ผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่นและผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในหมู่ท่านก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ทุกคน” (มก. 10: 43-44) นี่ไม่ใช่แค่ผู้อพยพแต่เกี่ยวกับการนำเอาคนที่อยู่ปลายแถวมาไว้ที่ต้นแถวพระเยซูคริสตเจ้าสอนเราไม่ให้ใช้ตรรกะของโลกที่สร้างความชอบธรรมให้กับความอยุติธรรมต่อผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตนหรือพรรคพวกของตน“ฉันต้องมาก่อนแล้วคนอื่นๆค่อยตามมาทีหลัง!” ตรงกันข้ามคติธรรมที่แท้จริงของคริสตชนควรที่จะเป็น“คนสุดท้ายจะกลายเป็นคนที่หนึ่ง” “จากสถานภาพที่เห็นแก่ตัวจะเป็นดินอุดมสำหรับการเจริญเติบโตของการเพิกเฉยต่อเพื่อนบ้านซึ่งนำไปสู่การมองพวกเขาในมุมมองแห่งเศรษฐกิจล้วนๆขาดความห่วงใยต่อความเป็นมนุษย์ของพวกเขาจนในที่สุดแล้วจะก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวและการดูถูกดูหมิ่นถากถางผู้อื่น นี่ไม่ใช่ทัศนคติที่เรามีต่อคนยากจนคนที่อยู่ตามชายขอบสังคมและคนที่‘ต่ำต้อยที่สุด’ ของสังคมดอกหรือ? แล้วเรามีคนที่“ต่ำต้อยที่สุด” เหล่านี้ในสังคมของเราสักเท่าไร! ในพวกเขาเหล่านั้นข้าพเจ้าคิดถึงพวกผู้อพยพเป็นพิเศษซึ่งมีภาระและความทุกข์ยากมากมายในขณะที่พวกเขาแสวงหาทุกวันซึ่งสถานที่ที่จะพักพิงโดยสันติสุขและมีศักดิ์ศรีและบ่อยครั้งก็ต้องผิดหวัง” (คำปราศรัยต่อคณะทูตานุทูต, 11 มกราคมค.ศ. 2016) ในตรรกะแห่งพระวรสารคนสุดท้ายจะเป็นคนแรกแล้วเราต้องทำตนเป็นผู้รับใช้พวกเขา
“เรามาเพื่อให้บรรดาแกะมีชีวิตและมีชีวิตอย่างสมบูรณ์” (ยน. 10: 10) นี่ไม่ใช่แค่ผู้อพยพแต่เกี่ยวกับบุคคลทั้งครบเกี่ยวกับทุกคน ในพระวาจาของพระเยซูคริสต์เราพบกับหัวใจแห่งพันธกิจของพระองค์เพื่อทุกคนจะได้รับของขวัญแห่งชีวิตในความบริบูรณ์ตามน้ำพระทัยของพระบิดาในพฤติกรรมการเมืองทุกชนิดในแผนการทุกอย่างในงานอภิบาลทุกรูปแบบเราต้องยึดหลักบุคคลเป็นศูนย์กลางเสมอในหลายๆมิติของชีวิตรวมถึงมิติของจิตวิญญาณด้วยและนี่หมายถึงทุกคนซึ่งเราต้องตระหนักถึงความเท่าเทียมกันขั้นพื้นฐานของทุกคนผลที่ตามมาคือ“การพัฒนาไม่อาจจะจำกัดอยู่แค่การพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียวเพื่อจะให้การพัฒนามนุษย์มีความสมบูรณ์จำเป็นต้องเป็นแบบครบวงจรต้องส่งเสริมการพัฒนาแต่ละบุคคลทั้งชายและหญิง” (สมณสาส์นนักบุญเปาโลที่6 พระสันตะปาปา, เรื่องPopulorum Progressio, ข้อ14)
“ท่านจึงไม่เป็นคนต่างด้าวหรือผู้อาศัยอีกต่อไปแต่เป็นเพื่อนร่วมชาติกับบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นสมาชิกในครอบครัวของพระเจ้า” (อฟ. 2: 19) นี่ไม่ใช่แค่ผู้อพยพแต่เป็นการสร้างเมืองของพระเจ้าและเมืองของมนุษย์ ในยุคสมัยของเรานี้อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการอพยพผู้บริสุทธิ์เป็นอันมากต้องตกเป็นเหยื่อของ“กลลวง” ของการพัฒนาเทคโนโลยีและบริโภคนิยมที่ปราศจากขอบเขต(cf. สมณสาส์นเวียนLaudato Si’, ข้อ34) ผลที่ตามมาคือพวกเขากำลังเดินทางสู่“สวรรค์บนดิน” ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการทรยศต่อความคาดหวังของพวกเขา บางครั้งพฤติกรรมของพวกเขาทำลายความเจริญที่สร้างประโยชน์ให้กับเพียงบางคนซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบกับคนส่วนใหญ่ “เราต้องมองเห็นแล้วช่วยผู้อื่นให้เห็นว่าผู้อพยพและผู้ลี้ภัยไม่ใช่เป็นปัญหาที่ต้องแก้แต่เป็นเป็นพี่เป็นน้องของเราที่เราต้องให้การต้อนรับให้ความเคารพและความรักนี่เป็นพระญาณสอดส่องของพระเจ้าที่ส่งพวกเขามาให้เราเพื่อที่จะช่วยกันสร้างสังคมที่มีความชอบธรรมกว่าเดิมประชาธิปไตยที่ครบครันมากกว่าเดิมประเทศชาติที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากกว่าเดิมโลกที่เป็นพี่น้องกันมากว่าเดิมและทำให้เราเปิดใจกว้างยิ่งขึ้นและเป็นชุมชนคริสตนแห่งพระวรสาร” (สาส์นเพื่อวันผู้อพยพและผู้ลี้ภัยสากลปีค.ศ. 2014).
พี่น้องชายหญิงที่รักการตอบสนองของเราต่อการท้าทายที่เกิดจากการอพยพในยุคร่วมสมัยสรุปได้ด้วยสี่คำ: ต้อนรับปกป้องส่งเสริมและผนึกให้เข้าในสังคมแต่คำเหล่านี้ต้องไม่หมายความถึงแต่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเท่านั้นแต่หมายถึงพันธกิจของพระศาสนจักรต่อทุกคนที่อยู่ตามชายขอบสังคมที่ต้องการการต้อนรับการปกป้องการส่งเสริมและการผนึกทุกคนทุกสิ่งให้เข้ามาอยู่ในสังคมหากเราปฏิบัติตามสี่คำนี้เราจะช่วยสร้างเมืองของพระเจ้าและเมืองของมนุษย์เราจะส่งเสริมการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวมเราจะช่วยชุมชนโลกให้เข้าใกล้กับเป้าหมายของการพัฒนายั่งยืนที่ตั้งเป้าเอาไว้และถ้าหากขาดซึ่งแผนการนี้ก็จะยากที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย
ขอพูดเพียงคำเดียวคือนี่ไม่ใช่ผู้อพยพที่เป็นปัญหาไม่ใช่แต่พวกเขาเท่านั้นแต่เกี่ยวกับตัวเราเช่นเดียวกันและเกี่ยวกับครอบครัวมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตผู้อพยพโดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอที่สุดช่วยเราให้อ่าน“สัญญาณแห่งกาลเวลา” โดยอาศัยพวกเขาพระเจ้าเรียกร้องให้เราต้องกลับใจให้เป็นอิสระต่อการยึดเอาแต่พวกตนเองต่อการเพิกเฉยและต่อวัฒนธรรมกินทิ้งกินขว้างโดยอาศัยพวกเขาพระเจ้าทรงเชื้อเชิญให้เราดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างบริบูรณ์และมีส่วนให้ความช่วยเหลือตามสภาพกระแสเรียกของแต่ละคนเพื่อสร้างโลกที่ยิ่งวันยิ่งจะเป็นไปตามแผนของพระเจ้า
ในการแสดงความหวังนี้และโดยอาศัยการวอนขอของพระแม่พรหมจารีพระแม่แห่งหนทางชีวิตข้าพเจ้าวอนขอพระพรอันอุดมสมบูรณ์ของพระเจ้าได้โปรดหลั่งมาสู่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในโลกทุกคนและสู่ทุกคนที่เฝ้าติดตามพวกเขาไปในการเดินทางของพวกเขา
จากนครรัฐวาติกันวันที่30 เมษายนค.ศ. 2019
พระสันตะปาปาฟรานซิส
(วิษณุธัญญอนันต์เก็บสาส์นนี้มาไตร่ตรองและปฏิบัติ)