• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2012-10-28 “เสียงพระ…พระกระแสเรียก” ตอนแรก

“เสียงพระ…พระกระแสเรียก” ตอนแรก

“พระ​เจ้าทรง​ช่วย​ประชากร​ของ​พระ​องค์ให้​รอด​พ้น  และปลอบโยนเขาขณะนำเขากลับมา”(เทียบ ยรม 31:7,9)

ปิดเทอมที่ผ่านมา  แต่ละคนก็มีหนทางของตนเอง มีกิจรรมและสถานที่ของตนที่ตนเองวางนัดหมายเอาไว้  บ้างยังคงต้องทำงานต่อไป บ้างก็ยังสลวนกับการเรียนต่อไป บ้างจัดตารางเพื่อไปเที่ยวพักผ่อนส่วนตัว บ้างก็หานัดหมายกับกลุ่มเพื่อน  ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจความพึงพอใจส่วนตนไม่สามารถจะไปกะเกณฑ์กันได้  ก็วันหยุดทั้งทีทุกคนต่างก็ปรารถนาได้พักผ่อนอย่างสุขใจและร่มเย็นกันทั้งนั้น

เมื่อวันเสาร์ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลพี่น้องกับเรา  พวกเขามีความชื่นชมยินดีครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง  มีสังฆานุกรได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ใหม่สองท่าน  เป็นรุ่นน้องที่น่ารักมากสำหรับพ่อ   ยามที่พ่อถูกส่งไปช่วยงานที่สังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้นยามที่ช่วยงานที่อาสนวิหารนักบุญอันนา นครสวรรค์ในช่วง 3 ปีสุดท้ายก่อนที่จะหมดวาระการถูกส่งไปช่วยงาน และได้กลับมาที่อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯของเราอีกครั้งหนึ่ง  เรื่องราวพูดถึงคุณพ่อทั้งสอง จะถูกเอ่ยอ้างถึงอีกครั้งในตอนที่สองในสัปดาห์หน้าครับ

          “พระ​เจ้า ทรง​ช่วย​ประชากร​ของ​พระ​องค์ให้​รอด​พ้น  และปลอบโยนเขาขณะนำเขากลับมา” (เทียบ ยรม 31:7,9)

          สำหรับสัปดาห์นี้ พ่อตั้งไว้เป็นตอนแรก นั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงแรกของชีวิตการเตรียมเป็นพระสงฆ์ ณ บ้านเณรเล็ก  เมื่อถูกส่งมาช่วยงานที่สังฆมณฑลนครสวรรค์  ได้พบกับเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆได้รับมากมาย รวมทั้งสถานที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยงานด้วยเช่นเดียวกัน  ปีแรกที่ได้มาร่วมช่วยงานคือ  บ้านเณรเล็กจอห์น-ปอล นครสวรรค์ บ้านเณรเล็กประจำสังฆมณฑล  ณ เวลานั้น มีคุณพ่อสันติ ปิตินิจนิรันดร์ ทำหน้าที่เป็นคุณพ่ออธิการ สวนตัวพ่อเองเป็นคุณพ่อผู้ช่วยฯ 

          ปกติที่บ้านเณรเล็ก  เราก็ไม่ได้ฝึกอบรมอะไรที่เป็นพิเศษมากมาย เพราะสิ่งที่สำคัญคือ ฝึกชีวิตประจำวัน ในแต่ละวัน แต่ละเวลา ให้ทำให้ดีที่สุด ถึงกับมีคำพูดคำหนึ่งว่า “เสียงกริ่ง ก็คือเสียงของพระ  เมื่อได้ยินต้องหยุดสิ่งที่ทำทันที และไปทำสิ่งที่เป็นกิจกรรมต่อไป” (เสียงกริ่ง  คือ เสียงที่คอยเรียกสามเณรให้รู้และลงมือทำกิจกรรมต่างๆของสมาชิกทุกคนในบ้านเณร) ดังนั้นชีวิตในบ้านเณรเล็กจึงเป็นชีวิตที่ เยาวชนชายแต่ละคนจะฝึกฝนตนเองด้วย “ความอดทนยิ่งและสม่ำเสมอ”  อีกทั้งช่วงค่ำหลังจากร่วมสวดภาวนาค่ำกันแล้ว จะมีพระสงฆ์หรือสามเณรรุ่นพี่ที่เป็นครูเณร มายืนด้านหน้าและให้คำแนะนำ คำอบรมถึงชีวิตสามเณรที่ดี ชี้แนะเพื่อปรับแก้ไขในเรื่องบกพร่อง 

          สำหรับพ่อเอง ยามที่อยู่ที่บ้านเณรเล็ก จอห์น-ปอล นครสวรรค์ ก็มีโอกาสพูดอบรมบรรดาสามเณรเล็กอยู่เป็นประจำ  จำได้ว่าในการพูดอบรมครั้งแรกๆ พูดเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกเลยทีเดียว  ว่า “พ่อไม่ใช่คนของที่นี่ พ่อมีบ้านของพ่อ เมื่อผู้ใหญ่ส่งพ่อมาช่วยงานที่นี่ พ่อก็พยายามทำเต็มที่เท่าที่สามารถ  แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง พ่อก็ต้องกลับบ้านของพ่อ  ส่วนพวกเรา พวกเราเป็นคนของที่นี่ ที่นี่เป็นบ้านของเธอ สังฆมณฑลนครสวรรค์เป็นบ้านของเธอ  ถ้าเธอไม่ยอมอดทนรับการฝึกฝน  เธอไม่รักบ้านของเธอก็ไม่รู้จะให้ใครมารักบ้านของเธอ บ้านของเราเองแล้ว…เพราะฉะนั้นจงมานะ จงอดทน และพยายามฝึกฝนตนเอง เพื่อพระศาสนจักร บ้านของเรานั่นเอง”  ทุกวันนี้หลักจากที่หมดหน้าที่ที่บ้านเณรเล็กแล้วยามเจอกับพวกเขาในเวลาต่างๆ ถามพวกเขาพวกเขายังจำได้เลย

          “พระอาจารย์ ให้​ข้าพ​เจ้า​แลเห็น​เถิด”​​พระ​เยซู​เจ้า​ตรัส​กับ​เขา​ว่า“ไป​เถิด ​ความ​เชื่อ​ของ​ท่าน​ได้​ช่วย​ท่าน​ให้​รอด​พ้น​แล้ว” ทัน​ใด​นั้น เขา​กลับ​แลเห็น​และ​เดินทาง​ติดตาม​พระ​องค์​ไป  ( เทียบ มก 10:51-52)

          เรื่องราวของชีวิตของสามเณรเล็ก ก็เป็นเรื่องเป็นราว เตือนใจเราได้เช่นเดียวกัน นอกจากที่จะขอพี่น้องร่วมกันช่วยส่งเสริมกระแสเรียกในสังฆมณฑลของเราแล้ว  เราส่งเสริมได้หลายทางไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ปัจจัยเพื่อช่วยในการดำเนินกิจการดูแลสามเณรแล้ว  สิ่งที่สำคัญกว่า กลับอยู่ที่เราช่วยกันภาวนา เช่น สวดสายประคำเพื่อพวกเขามีกระแสเรียกที่เข้มเข็ง  และที่สำคัญที่สุดคือตัวเรานั้นเอง ที่จะร่วมกันสร้างครอบครัวให้เป็นคนมีความเชื่อหมั่นสวดภาวนา ร่วมบูชามิสซาเป็นประจำ และอย่าลืมฝึกฝนลูกหลานของเราเองให้ร่วมชีวิตไปกับเราด้วย อีกทั้งฝึกฝนเขาให้รู้จักช่วยตัวเองได้ไม่ใช่มีชีวิตแต่ไข่ในหินเท่านั้น

          เรื่องราวชีวิตของสามเณรเล็ก ยังเป็นแนวทางชีวิตของเราด้วย  ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกของวัดของตนเอง พระวิหารของพระที่เรามาร่วมกัน ร่วมกับพระเยซูเจ้า  มอบชีวิตของเราพร้อมกับพระองค์เป็นเครื่องบูชาแด่พระบิดาของเรา  วัดนี้เป็นบ้านของเรา หาเราไม่รักวัดไม่รักบ้านของเราแล้วใครละจะมารักบ้านของเราได้  จึงเป็นเสียงของพระนะครับที่เรียกเรา มาร่วมกับพี่น้องสัตบุรุษที่มาร่วมกันในบูชาขอบพระคุณพระเจ้า  เพราะนี่แหละคือ กระแสเรียกของเรา  นี่แหละคือเสียงเรียกที่พระเยซูเจ้าเรียกเราแต่ละคนเช่นเดียวกับที่เรียกบรรดาเยาวชนลูกหลานของเราครับ

          ทัน​ใด​นั้น เขา​กลับ​แลเห็น​และ​เดินทาง​ติดตาม​พระ​องค์​ไป  ( เทียบ มก 10:51-52)

โดย…นกขุนทอง

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube