จาก วีรกร ตรีเศศ มติชนรายสัปดาห์
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 28 ฉบับที่ 1466
ได้อ่านเรื่องที่น่าประทับใจซึ่งส่งต่อๆกันมาจึงขอนำมาแปลเพื่อเผยแพร่ต่อ
มันเป็นตอนเช้าเวลาประมาณ 08.30 น. ที่วุ่นวายเอาการเมื่อสุภาพบุรุษสูงอายุท่านหนึ่งในวัย 80 กว่ามารับบริการแพทย์ตัดไหมจากแผลที่หัวแม่มือ และบอกว่าขอให้รีบหน่อยเพราะมีนัดตอน 09.00 น.
เมื่อผมตรวจร่างกายตามปกติเสร็จ ผมก็ขอให้นั่งรอโดยผมรู้ว่า อย่างไรเสีย ก็ไม่หนีหนึ่งชั่วโมงกว่า ที่จะถึงคิวผมเห็นสุภาพบุรุษท่านนี้ ดูนาฬิกาหลายครั้งอย่างกระสับกระส่าย
ผมว่างอยู่พอดีจึงเข้าไปดูแผลให้ เมื่อตรวจดูก็เห็นเป็นปกติผมจึงเดินไปหารือกับหมอคนหนึ่งที่ให้บริการอยู่ เอายาและวัสดุมาทำแผลให้
ขณะที่ตัดไหมอยู่ผมก็ถามว่า มีนัดกับหมออีกคนหรือจึงดูรีบร้อน
สุภาพบุรุษท่านนี้ตอบว่าไม่หรอกแต่จำเป็นต้องรีบไปเนิร์ซซิ่งโฮมเพื่อกินอาหารเช้ากับภรรยา
ผมก็ถามถึงสุขภาพของภรรยา
ก็ตอบว่าภรรยาอยู่ที่นั่นมานานพอควรแล้วและเธอเป็นโรค Alzheimer’s
ขณะที่คุยกันผมก็ลองถามดูว่าเธอจะรู้สึกกังวลเป็นทุกข์ไหมถ้าไปสายสักหน่อย
สุภาพบุรุษท่านนี้ก็ตอบว่าเธอไม่รู้หรอกว่าผมเป็นใคร เธอจำผมไม่ได้มา 5 ปีแล้ว
ผมรู้สึกแปลกใจจึงถามว่า’แล้วคุณก็ยังไปทุกเช้า ถึงแม้ว่าเธอจะไม่รู้ว่าคุณเป็นใครก็ตาม’
สุภาพบุรุษสูงอายุยิ้มและตบเบาๆ บนมือผมและพูดว่า ‘ถึงเธอไม่รู้จักผมแต่ผมยังรู้ว่าเธอเป็นใคร‘
ผมต้องกลั้นน้ำตา ขณะที่เดินจากไป ขนบนแขนผมลุกชันและคิดว่า
‘นั่นคือความรักอย่างที่ผมต้องการในชีวิต’ความรักที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องของกายภาพหรือโรแมนติกความรักที่แท้จริง คือการยอมรับทุกสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้เป็นมาตลอดรวมทั้งที่จะเป็น และที่จะไม่เป็นด้วยคนที่มีความสุขที่สุดไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสิ่งดีที่สุดของทุกสิ่ง เขาเพียงทำสิ่งที่เขามีอยู่ให้ดีที่สุดผมขอบอกว่า ‘ชีวิตไม่ใช่เรื่องของการทำอย่างไรให้รอดจากพายุฝนแต่เป็นเรื่องของการจะเล่นน้ำฝนอย่างไร'(Life is not about how to survive the storm, but how to dance in the rain)